ท่านวดกระตุ้นน้ำนมเพิ่มพัฒนาการให้ลูก

ท่านวดกระตุ้นน้ำนมเพิ่มพัฒนาการให้ลูก

ถ้าคุณแม่มีน้ำนมน้อย ลองการนวดเต้านมกระตุ้นนมแม่กันค่ะ เพราะถ้านมออกเยอะเมื่อไหร่ก็หมายถึงพัฒนาการเด็กของลูกที่ดีเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่มือใหม่ หรือคุณแม่ลูกสอง การให้ลูกดื่มนมแม่ซึ่งเป็นอาหารหลักของลูกวัยทารกนั้น หากคุณเป็นคนที่มีปริมาณน้ำนมน้อยอยู่แล้ว การกระตุ้นน้ำนมเพื่อให้ต่อมน้ำนมทำงานได้ดีขึ้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องใช้ความอดทนมาก ในการกระตุ้นน้ำนมให้มีปริมาณมากนั้นมีหลายวิธีค่ะ ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมไปถึงการนวดเพื่อช่วยกระตุ้นน้ำนม แต่จะนวดอย่างไรให้ถูกวิธี โดยที่คุณแม่ไม่เจ็บเต้านมมากจนเกินไป

ท่านวดกระตุ้นน้ำนม

ใช้บริเวณนิ้วมือ นวดเป็นวงกลมสั้นๆ ที่เต้านม

หลังจากนั้น ลูบหน้าอกจากด้านบนลงมายังหัวนมเบาๆ

ก้มตัวลง ให้เต้านมทิ้งตัว และเขย่าเบาๆ

ถ้าหลังคลอดนวดแล้วยังรู้สึกคัดตึงเต้านมมาก สามารถใช้การประคบร้อนสลับเย็นช่วยบรรเทาอาการปวดได้

คลึงบริเวณรอบเต้านม ก่อนให้ลูกกินนมเพื่อให้น้ำนมไหลสะดวกยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังในการนวดเต้านม

ไม่นวด หรือลงน้ำหนักมือบริเวณเต้านมอย่างรุนแรง หรือนานจนเกินไป อาจทำให้เกิดการฟกช้ำได้

ไม่ควรบีบ หรือเค้นเต้านม

ไม่สัมผัสถูกหัวนมตลอดการนวด

คุณแม่ที่มีอาการของเต้านมอักเสบ ติดเชื้อ ปวดบวม แดง ร้อน ไม่ควรนวดเต้านมเพราะจะทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น

ผู้ที่เป็นโรคผิวหนัง ไม่ควรนวดเช่นกัน เพราะยิ่งทำเชื้อแพร่กระจายมากขึ้น

ผู้ที่มีบาดแผลบริเวณเต้านม

ระยะเวลาในการนวดประมาณ 10 – 30 นาที ไม่ควรเครียดหรือกังวลในขณะที่นวดเต้านม เพราะยิ่งจะทำให้น้ำนมไหลน้อย หรือไม่ออกได้ ควรนวดด้วยอารมณ์ที่ผ่อนคลาย การนวดกระตุ้นเต้านมจึงจะสำเร็จค่ะ เพื่อกระตุ้นน้ำนม คุณแม่อาจนวดในขณะที่อาบน้ำ และห้ามเครียดเด็ดขาด จะช่วยทำให้มีน้ำนมมากขึ้นค่ะ

Reference

  1. “Effect of breast massage on lactation” (2012) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3505244/
  2. “The Effect of Exercise on Breast Milk Volume and Composition” (2018) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6165267/
  3. “Maternal Diet and Breast Milk Fatty Acid Composition” (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6523865/
  4. “The Effect of Skin-to-Skin Contact on Breastfeeding Success and Lactation Physiology” (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6320952/
  5. “Impact of psychosocial factors on breast milk production in the first 6 months postpartum” (2021) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8324395/