ทริคเพิ่มน้ำนมคุณแม่ปั๊มได้มากที่สุด70ออนซ์ต่อวัน

ทริคเพิ่มน้ำนมคุณแม่ปั๊มได้มากที่สุด70ออนซ์ต่อวัน

การให้ลูกดื่มนมจากอกแม่คือ ยอดปรารถนาของคุณแม่ทุกคน แต่เราจะทำอย่างไรให้มีน้ำนมเพียงพอต่อความต้องการของลูก วันนี้แอดมินมีเคล็ด(ไม่)ลับจากประสบการณ์จริงของคุณแม่บีที่นำมาแชร์ในคลับ “HerKid รวมพลคนเห่อลูก” ของเรา ให้คุณแม่ๆนำไปใช้ประโยชน์กันค่ะ เราไปฟังเคล็ดลับของคุณแม่บีกันเลยดีกว่าว่า ทำอย่างไรให้มีน้ำนมเยอะได้ขนาดนี้


คุณแม่บี (Bee Hongprayoon) บอกว่า “ ลูกบี 1 ขวบ 8 เดือน 17 วันแล้วค่ะ ครั้งก่อนปั๊มนมได้ 50-60 ออนซ์ต่อวัน วันนี้ได้นม 70 ออนซ์ ปั๊มล้วนคะ เนื่องจากเมื่อวานนมตัน เพราะตกรอบ ทั้งวันได้นม 40 ออนซ์ วันนี้เลยประคบร้อนแล้วปั๊ม 8 รอบและกินหัวปลีจิ้มน้ำพริก 1 หัว ใครคลอดใหม่หัดเข้าเต้าเถอะค่ะ ปั๊มล้วนเหนื่อยมาก เส้นทางนมแม่ของบี สำหรับเพื่อนใหม่ๆ (อย่าเพิ่งเบื่อนะ) กว่าจะถึงวันนี้ตอนคลอดใหม่ปั๊มวันละ 8 รอบ พอลูก 2 เดือนลดเหลือ 5 รอบ เพราะลางานได้ 2 เดือน และคงรอบมาตลอด ป่วยก็ตื่นมาปั๊ม (ป่วยเป็นหอบ ความดันสูง และหมอนรองกระดูกทับเส้น ขาซ้ายจะปวดตลอดเวลา ยกสูงไม่ได้ ) นอนน้อยมากความดันขึ้น ปวดหัวมากก็ยังตื่นมาปั๊ม จริงๆ ล่าสุดบางวันป่วยด้วย ประจำเดือนมาด้วย นมลดเหลือ 30 ออนซ์ก็เคยมาแล้ว แต่ก็ยังคงปั๊มต่อไป ปัจจุบันจะได้นม 50-60 ออนซ์ ถ้าวันไหนนอนเยอะ กินเยอะ ก็จะได้เยอะขึ้น ตั้งใจไว้ 3 ปี อยากให้แม่สู้ๆ กันต่อไปนะคะ ไม่มียาอะไรดีกว่าการปั๊มนมทุก 3 ชม เพราะบีไม่เคยกินยาเพิ่มนมอะไรเลยด้วยซ้ำ อย่าท้อนะคะ มาสู้ไปด้วยกัน”


แอดมินเอาวิธีเอาลูกเข้าเต้าแม่มาฝากทุกๆคนค่ะ วิธีสังเกต…ลูกอมงับลานนมได้ดีแล้วหรือยัง ? หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าจัดท่าให้นมลูกได้ถูกต้องหรือไม่ ให้สังเกตง่ายๆ ในขณะที่ลูกเข้าเต้าได้แล้ว (เมื่อมองจากด้านบนลงไป) ดังนี้

  1. ลูกอมลานนมด้านล่างได้มากกว่าด้านบน ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ายังมองเห็นลานนมด้านบน ในขณะที่ลานนมด้านล่างถูกปากลูกอมจนมิดหรือเกือบมิด

2. ปากลูกอ้ากว้างแนบสนิทกับเต้านมแม่

3. ริมฝีปากล่างบานออกเหมือนปากปลา

4. คางลูกต้องแนบชิดเต้านมแม่ 

Reference

  1. “Breast Milk: A Truly Natural Immunization. A Review” by M. L. Goldman (2013) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3404658/
  2. “Breastfeeding and Human Lactation: Principles and Practice” by K. Wambach and J. A. Riordan (2015) – https://www.springer.com/gp/book/9781284057560
  3. “Human Milk: Composition and Health Benefits” by R. M. Thakkar, et al. (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6606730/