ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่

การเลี้ยงลูกเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญและต้องมีความรู้พื้นฐานเพียงพอ เพื่อให้สามารถดูแลลูกได้อย่างเหมาะสม การรับฟังคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกได้อย่างสมบูรณ์ และต้องขึ้นอยู่กับการดูแลและการพัฒนาของลูกในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้นคุณแม่ควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกให้เหมาะสม ดังนี้

1. สารอาหารในน้ำนมแม่
สารในน้ำนมแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างเหมาะสม ตามอายุลูก ซึ่งจะช่วยให้ลูกฉลาด และ แข็งแรง  สารอาหารสำคัญ คือ ไขมันในน้ำนมแม่ ที่จะไปห่อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองเด็กที่กำลังเพิ่มการเชื่อมโยงการทำงานอย่างรวดเร็ว  เพื่อให้การทำงานของสมองเด็กสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   โปรตีนใน น้ำนมแม่จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็ก  สารต้านการอักเสบ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และไม่สบายของเด็ก ทำให้เด็กไม่ต้องเสียโอกาสของการพัฒนาความสามารถไปกับความเจ็บป่วย   ซึ่งสารอาหารดังกล่าวทั้งหมด ไม่สามารถจะถูกทดแทนได้ด้วย นมผสม

 2. สัญชาตญาณความเป็นแม่ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน ( Oxytocin )
ในตัวแม่ขณะที่ลูกกำลังดูดนมจากอกแม่ที่จะช่วยให้แม่เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน เปี่ยมด้วยความรักและเมตตา อันเนื่องมาจากความรู้สึกสงบ  เป็นสุข  เปี่ยมด้วยความรัก ที่แม่มีต่อลูก ที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติในตัวแม่ขณะลูกกำลังดูด นมแม่ ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้ถึงความรู้สึกอ่อนโยน ทำให้เด็กอารมณ์ดี และ เป็นสุข

  3.  กระบวนการโอบอุ้ม

กระบวนการโอบอุ้มและโต้ตอบระหว่างแม่และลูก ขณะลูกดูดนมจากอกแม่ เป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม ในเด็ก  เพราะขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่  ลูกจะสบตาแม่ เป็นการสื่อสารสำคัญที่ถ่ายทอดผ่านการมองเห็นในระยะที่เหมาะสม เพราะช่วงแรกเกิด การมองเห็นของเด็ก จะเหมือนคนสายตาสั้น ซึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนระดับการมองเห็นไปเป็นระดับปกติเมื่อเด็กอายุ ๑ ปี  นอกจากนี้ ขณะที่ลูกกำลังดูด นมแม่ มือลูกจะสัมผัสกับผิวแม่  จมูกลูกจะได้กลิ่นกายแม่  ลิ้นของลูกจะได้รับรส น้ำนมแม่ ร่วมกับความรู้สึกอิ่ม  สบาย และ ผ่อนคลาย  ขณะที่หูของลูกจะได้ยินเสียงที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัว  ดังนั้น ประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน  บนความรู้สึกดีๆที่แม่ถ่ายทอดสู่ลูก อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการสังเกต และ โต้ตอบอย่างเหมาะสมของเด็ก

  ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ได้หยุดอยู่ที่ตัวเด็ก ที่ช่วยให้เด็ก ฉลาด แข็งแรง ลดโอกาสการเป็นโรค และ มีความพร้อมต่อการพัฒนาเป็นผู้มีจริยธรรมที่ดี จิตใจอ่อนโยน และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นเท่านั้น  แต่ยังส่งผลโดยตรง ถึงแม่ ครอบครัว  สังคม และ ประเทศ  กล่าวคือ  แม่ จะลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม  ครอบครัวจะมีความสุขอันเนื่องมาจากการเป็นเด็กแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี  ไม่ต้องเปลืองเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลูก  และ การซื้อนมผสม  

Reference

  1. สำนักงานสุขภาพจิตเวชแห่งชาติ. (2559). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.dmhc.moph.go.th/phocadownload/guide_book/guideline_breastfeeding.pdf
  2. ศูนย์ความรู้การพัฒนาเด็กและครอบครัว กรมส่งเสริมสุขภาพ. (2559). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://childcare.thaihealth.or.th/knowledge/breastfeeding
  3. สถาบันสุขภาพแห่งชาติ. (2561). คู่มือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/inline-files/Breastfeeding%20Handbook.pdf