คุณแม่มือใหม่จะทำยังไงดี ลูกน้อยดูดนมไม่เป็น  

คุณแม่มือใหม่จะทำยังไงดี ลูกน้อยดูดนมไม่เป็น

     ไม่ใช่ว่าลูกน้อยดูดนมไม่เป็นหรอกค่ะ  แต่ลูกน้อยไม่ยอมกินนมแม่เองต่างหาก  แล้วรู้สึกปวดใจไหมค่ะ  เวลาจะให้ลูกดูดนม ก็เบือนหน้าหนีเต้าลูกเดียว คุณแม่เจอแบบนี้ ก็เครียดเลยสิคะ คิดไปต่าง ๆ นา ๆ ว่าเป็นเพราะตัวเองมีน้ำนมน้อยรึเปล่า หรือเกิดจากอะไรกันแน่ 

สาเหตุที่ลูกไม่ยอมกินนม

• เจ็บเหงือก หรือเกิดจากการติดเชื้อราในช่องปาก

• หูติดเชื้อ ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะดูดนม 

• ความเจ็บปวดที่เกิดจากท่าให้นมไม่ถูกวิธี หรือความเจ็บปวดหลังการได้รับวัคซีน

• ถูกดึงดูดความสนใจโดยสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ รอบตัว

• เป็นหวัดคัดจมูก ทำให้การหายใจลำบากขณะดูดนม 

• ปริมาณน้ำนมแม่ที่ลดลง ทำให้ลูกดูดจากขวดเพิ่มขึ้น หรือดูดจุกหลอกมากเกินไป ทำให้ลูกได้กินนมแม่น้อยลง 

• เป็นการตอบสนองต่อปฏิกิริยาไม่พอใจของแม่เมื่อถูกลูกกัด

• ถูกเลื่อนการให้นม เมื่อถึงเวลาต้องกินนมอยู่บ่อยๆ

สิ่งที่คุณแม่ต้องทำ ห้ามท้อ!

• ควรป้อนนมต่อไป

• พยายามกระตุ้นผลิตน้ำนมให้เพียงพอ

• อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

• มีความเชื่อมั่นใจตัวเอง ว่าลูกจะเรียนรู้ได้ในที่สุด

ทั้งนี้ ลูกน้อยมีทักษะความสามารถในการดูดติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิด การที่ลูกไม่ดูดนมแม่มีหลายสาเหตุ เช่น สาเหตุจากคุณแม่ มีหัวนมสั้น มีน้ำนมมากหรือน้อยเกินไป ท่าทางการอุ้มไม่เหมาะสม   หรือสาเหตุจากเด็กเองก็ตาม ซึ่งหากได้รับการปรับแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุ ลูกน้อยก็จะสามารถกลับมาดูดนมได้ตามปกติค่ะ

เทคนิคให้ลูกยอมกินนมแม่

• พยายามให้ลูกดูดนมตรงเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเต้านมคัด และปัญหาที่นำไปสู่ท่อน้ำนมอุดตัน 

• ดูการปัสสาวะของลูก เพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอ อย่างน้อย 5-6 ครั้งต่อวัน

• ลองปรับเปลี่ยนท่าให้นมหลายๆ ท่า เพื่อหาท่าที่ลงตัวสำหรับคุณแม่และลูก

• ให้ความสนใจและปลอบโยนลูกด้วยการสัมผัสและกอดมากขึ้น

• ให้นมในห้องที่เงียบ สงบ ปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ มีเพียงคุณและลูกน้อยตามลำพัง

• พยายามเสนอเต้าให้ลูกดูด ถ้าลูกไม่ยอมกินนม ให้หยุดและลองทำใหม่ทีหลัง และลองทำเมื่อลูกกำลังจะนอนหรือเมื่อง่วงมากๆ 

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญ คือ คุณแม่มือใหม่ต้องไม่รู้สึกผิด หรือโทษว่าเป็นความผิดของตัวเองค่ะ คุณแม่ต้องทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย และอย่าหงุดหงิด หัวเสีย  และอย่าถอดใจง่ายๆ 

Reference

  1. “Breastfeeding Initiation and Duration: A 1900-2000 Literature Review” by Patricia J. Martens, Jino Distasio, and Maureen O’Neil (2002): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2822049/
  2. “A Comparison of Breastfeeding Rates among Mothers of Term and Preterm Infants in the NICU” by Adriana A. Cadena-Obando, et al. (2016): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4917321/
  3. “Predictors of Breastfeeding Duration among Women in Kuwait: Results of a Prospective Cohort Study” by Hanan Al-Kandari and John Petroff (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5802728/
  4. “Factors associated with exclusive breastfeeding in Timor-Leste: findings from Demographic and Health Survey 2009-2010” by Rosa Marlene de Jesus, et al. (2020): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7284173/
  5. “Barriers to and enablers of breastfeeding practices in a neonatal intensive care unit: a mixed methods study” by Janice L. Pringle, et al. (2020): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6993489/