วิธีการเก็บถนอมน้ำนมแม่

วิธีการเก็บถนอมน้ำนมแม่

การเก็บถนอมนมแม่เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ลูกน้อยได้รับประโยชน์จากคุณค่าทางโภชนาการของนมแม่ได้ตลอดเวลา ดังนั้นหากคุณแม่ต้องการเก็บถนอมนมแม่ เพื่อให้ลูกน้อยได้รับประโยชน์ คุณแม่ควรรู้วิธีการเก็บถนอมนมแม่ให้ถูกต้อง

1. เมื่อเก็บน้ำนมเสร็จ ควรปิดภาชนะให้มิดชิด แช่เย็นในตู้เย็นทันที เขียนวันที่ เวลา ที่ข้างขวด หรือถุง

2. นมที่ไม่ใช้ภายใน 2 วัน ควรเก็บในช่องแช่แข็ง ไม่ควรเก็บที่ประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิไม่คงที่

3. การส่งนมจากบ้านมาโรงพยาบาลต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง

วิธีการเก็บ ระยะเวลาที่เก็บได้

เก็บที่อุณหภูมิห้อง (>25 องศาเซลเซียส)  1 ชั่วโมง

เก็บที่อุณหภูมิห้อง (<25 องศาเซลเซียส)  4 ชั่วโมง

เก็บในกระติกน้ำแข็ง  1 วัน

เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา  2-3 วัน

เก็บที่ตู้เย็นแช่แข็ง (แบบประตูเดียว)  2 สัปดาห์

เก็บที่ตู้เย็นแช่แข็ง (แบบประตูแยก)  3 เดือน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจะช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น

1. เมื่อเริ่มต้นบีบน้ำนม 1-2 นาที ขอให้คุณแม่ใจเย็นและบีบเป็นจังหวะช้าๆ

2. การบีบที่หัวนม ทำให้เจ็บและน้ำนมไม่ไหล เพราะเป็นการบีบท่อให้ตีบ น้ำนมไหลไม่ดี

3. ฝึกหัดทำสักระยะ จะค่อยๆ เก่งขึ้นเรื่อยๆ

การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้

1. นมแม่ที่เก็บในช่องธรรมดา ให้นำมาวางไว้นอกตู้เย็น หรือแช่ในน้ำอุ่น เพื่อให้หายเย็น ห้ามอุ่นในน้ำร้อนจัด หรือเข้าไมโครเวฟ เพราะภูมิต้านทานในนมแม่จะสูญเสียไป

2. นำนมเก่าในช่องแช่แข็งมาใช้ก่อน โดยนำมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 1 คืน ให้ละลายตัว

3. นมแช่แข็งที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก

4. นมที่ละลายแล้ว วางที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไป ไม่เก็บไว้กินต่อ

Reference

  1. “Human Milk Storage: Simple Steps to Ensure Its Safe Use” by Kelly S. Murray and Donna M. Geddes (2019). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6639492/
  2. “Human Milk Storage and the Use of Banked Milk in the NICU: A Position Statement from the Canadian Paediatric Society” (2017). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5802462/
  3. “Human Milk Storage Practices in the NICU: Results from a Web-Based Survey” by Susanne A. Wiesner, Paula P. Meier, and Aloka L. Patel (2016). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4976441/
  4. “Effect of Storage Temperature and Time on Antioxidant Capacity and Total Phenolic Content of Breast Milk” by Maria Teresa Armenta-Rojas, Lilia G. Noriega-Rivera, and Ana M. Salazar-Montoya (2017). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5417198/
  5. “Inactivation of Human Milkborne Pathogens by Holder Pasteurization to Improve the Safety of Donor Milk for Very-Low-Birth-Weight Infants” by Kelly M. Rossow, Christopher R. Curtis, and Janice E. Sullivan (2016). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5465341/