เทคนิคการเก็บรักษานมแม่ไม่ให้เหม็นหืน

เทคนิคการเก็บรักษานมแม่ไม่ให้เหม็นหืน

คุณแม่บางคนจำเป็นต้องปั๊มนมและเก็บสต๊อกนมไว้ในตู้เย็น  แต่ปัญหาที่พบมักจะเป็นในเรื่องกลิ่นเหม็นหืนเมื่อนำนมออกมาให้ลูก ซึ่งในนมแม่มีเอนไซม์ ชื่อ ไลเปส(lipase) คือ ย่อยให้ไขมันในนมแม่แตกตัว และแม่แต่ละคนก็จะมีเอนไซม์นี้มากน้อยที่แตกต่างกัน ส่วนนมที่มีกลิ่นเหม็นหืนไม่เป็นอันตรายกับลูกสามารถให้กินได้ เพียงแต่เด็กบางคนอาจจะไม่ชอบกินเพราะกลิ่นนั่นเอง  มาดูวิธีการแก้ไขว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้เหม็นหืนค่ะ

1. ให้ปั๊มกินวันต่อวัน ถ้าแช่ช่องธรรมดา 2-3 วัน มักจะไม่เหม็นหืนส่วนนมที่ฟรีซก็เก็บไว้ยามจำเป็น

2. ทำให้น้ำนมร้อนเพื่อยับยั้งการย่อยไขมันของไลเปสก่อนนำไปแช่แข็ง ในกรณีนี้ น้ำนมที่เหม็นหืนไปแล้ว แก้ด้วยวิธีนี้ไม่ได้นะคะ ทำได้เฉพาะน้ำนมที่ปั๊มหรือบีบใหม่ ๆ เท่านั้น

3. ทันทีที่บีบหรือปั๊มน้ำนมออกมา ให้นำไปต้มจนมีอุณหภูมิ 82 C  สังเกตได้จากเริ่มเห็นฟองเล็ก ๆ ผุดขึ้นรอบๆ หม้อ อย่าปล่อยให้ถึงจุดที่เดือดจนล้นหม้อ หลังจากนั้นให้ดับไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วค่อยนำไปแช่แข็ง 

อย่างไรก็ตาม การต้มนมแบบนี้ จะทำลายภูมิคุ้มกันบางส่วนและสารอาหารบางอย่างในน้ำนมแม่ได้ แต่ก็ยังมีคุณค่ามากกว่านมผสมค่ะ

  1. “Storage of human milk: current science and guidelines” by Marinelli KA, et al. (2014). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4093952/
  2. “Breast milk storage: experiences of lesbian couples” by Reza J, et al. (2019). https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0890334419882828
  3. “Effect of storage time and temperature on microbial growth and quality of expressed breast milk” by Ahmed MA, et al. (2019). https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0890334419826521
  4. “Quality of human milk after warming in a microwave oven” by Quan R, et al. (2015). https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S187757561530027X
  5. “The impact of storage and handling practices on microbial counts and quality of human milk” by Picaud JC, et al. (2019). https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0890334419847312

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *