5 สูตรลับ Power Pumping

5 สูตรลับ Power Pumping


ช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่มักเจอปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมมาช้า นมหด  และการทำ Power pumping ก็เป็นทางออกที่ช่วยได้ดีค่ะ ถือเป็นเทคนิคการปั๊มนมโดยเลียนแบบการดูดของทารก เพื่อกระตุ้น หรือหลอกให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาได้เยอะๆ  จึงขอแนะนำ 5 สูตรลับ Power Pumping ที่จะเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ได้ในระยะยาว  ถ้าปั๊มนมอย่างมีวินัยค่ะ


วิธีที่ 1 : เป็น pp ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
คือการทำปั๊มวันละหนึ่งรอบ โดยการใช้เครื่องปั๊ม 2 ข้าง
ปั๊มนาน 20 นาที พัก 10 นาที
ปั๊ม 10 นาที พัก 10 นาที
ปั๊ม 10 นาที รวมเป็นเวลา 60 นาที
ต่อการทำ pp 1 รอบ ทำต่อเนื่องทุกวัน

วิธีที่ 2 : ในกรณีที่ไม่มีเวลาต่อเนื่องถึง 1 ชั่วโมง
อาจแบ่งเป็นทำครั้งละ 30 นาที สองครั้งต่อวัน
โดยปั๊ม 10 นาที พัก 10 นาที
ปั๊ม 10 นาที รวมเป็นเวลา 30 นาทีต่อการทำ pp 1 รอบ
ทำแบบนี้ 2 รอบต่อวัน ทำต่อเนื่องทุกวัน
.
วิธีที่ 3 คล้ายการปั๊มนมปกติ
แต่ทำถี่ขึ้น จากทุก 3-4 ชม. เปลี่ยนเป็นทุก 1-2 ชม
โดยปั๊มนาน 10-15 นาที
ถ้าปั๊มทุก 1 ชม. ปั๊มนาน 10 นาที
ถ้าปั๊มทุก 2 ชม. ปั๊มนาน 15 นาที
เป้าหมายคือปั๊มให้ได้ 10 ครั้งต่อวัน
ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 วัน

วิธีที่ 4 ถ้ามีเครื่องปั๊มแบบข้างเดียว

สามารถทำได้โดยใช้เครื่องปั๊มแบบข้างเดียวและอีกข้างก็ไม่ได้ให้ลูกช่วยดูด
เริ่มการปั๊มข้างขวา 10 นาที
ส่วนข้างซ้ายเอาขวดสูญญากาศมาแปะเอาไว้
ต่อมาย้ายมาปั๊มข้างซ้ายนาน 10 นาที
ย้ายขวดสูญญากาศมาแปะไว้ที่ด้านขวา
ต่อมาย้ายกลับมาปั๊มที่ข้างขวา
รวมทั้งสิ้น 6 รอบ เป็นเวลาทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง

วิธีที่ 5 ปั้มให้ได้ 10 ครั้งต่อวัน ทุก 1 ชม. ต่อเนื่อง 2-3 วัน

เป็นวิธีกู้น้ำนม คล้ายการปั๊มนมปกติ 

แต่ทำถี่ขึ้น จากทุก 3-4 ชม. เปลี่ยนเป็นทุก 1 – 2 ชม. 

โดยปั๊มนาน 10-15 นาที ถ้าปั๊มทุก 1 ชม.ปั๊มนาน 10 นาที 

ถ้าปั๊มทุก 2 ชม.ปั๊มนาน 15 นาที 

เป้าหมาย คือ ปั๊มให้ได้ 10 ครั้งต่อวัน และทำต่อเนื่องอย่างน้อย 2-3 วัน

เป็นอย่างไรบ้างคะ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่หลังคลอดไม่มากก็น้อย อยากให้แม่ๆ ลองนำเทคนิค PP  ไปฝึกทำกันดู เวลาที่น้ำนมมาน้อย น้ำนมไม่พอ ภายใน 2-3 สัปดาห์ จะได้เห็นน้ำนมเพิ่มแน่นอนค่ะ

  1. “Effect of Power Pumping on Breast Milk Production of Mothers with Premature Infants” by Yeo S, et al. (2018). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6059478/
  2. “Power pumping to increase milk supply in mothers of preterm infants: a randomized controlled trial” by da Silva SP, et al. (2020). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7217878/
  3. “The Power of Pumping: Effect of Breast Pump Technology on Milk Production in Mothers of Preterm Infants” by Jans G, et al. (2018). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6223511/
  4. “Effectiveness of a hospital-based program for exclusively pumping mothers: a prospective study” by Ward L, et al. (2018). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5993018/
  5. “Evaluation of a home-based power pumping program to support lactation: a feasibility study” by Patel AL, et al. (2016). https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4961286/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *