ทำไม? เด็กแรกเกิด 6 เดือน ถึงควรดื่มนมแม่อย่างเดียว

ทำไม? เด็กแรกเกิด 6 เดือน ถึงควรดื่มนมแม่อย่างเดียว

เพราะนมแม่คืออาหารสำหรับทารกที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะช่วยในเรื่องของ สารอาหาร ภูมิต้านทานโรค ความผูกพันระหว่างแม่และลูก  โดยกรมอนามัยโลกรวมทั้งกุมารแพทย์  จึงแนะนำให้ลูกดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน และดื่มให้นานที่สุด  วันนี้จะพาคุณแม่ไปดูเหตุผลสำคัญว่า ทำไมลูกน้อยควรดื่มนมแม่อย่างเดียวค่ะ

  • นมแม่มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ครบถ้วน เช่น DHA วิตามิน A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K รวมทั้งแร่ธาตุต่างๆ เช่น เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน
  • นมแม่มีภูมิคุ้มกันโรค ที่ประกอบแอนติบอดีและโปรตีนต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
  • นมแม่ช่วยให้ลูกน้อยขับถ่ายได้สะดวก ในนมแม่มีพรีไบโอติกและโพรไบโอติก ซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญของแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายทารก 
  • นมแม่ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตด้านร่างกาย เพราะมีแอนติออกซิแดนท์และโกรทแฟคเตอร์ ช่วยสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและควบคุมระบบต่างๆ 
  • นมแม่มีโปรตีนชนิดดีที่ย่อยง่าย คือ เบต้าเคซีน ช่วยให้ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ทำให้ลูกสบายท้อง ท้องไม่อืด

เป็นอย่างไรบ้างคะ นมแม่ดีมากเลยใช่ไหมคะ ,มีคุณประโยชน์เยอะขนาดนี้  และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมลูกน้อยต้องดื่มนมแม่อย่างเดียว ในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต แต่หากพ้น 6 เดือนไปแล้ว ถ้าคุณแม่มีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนนมให้กับลูก ก็สามารถทำได้เช่นกันค่ะ  เพราะนมแม่ คืออาหารสำหรับทารกที่ดีที่สุด จึงแนะนำให้ลูกดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวค่ะ

Reference

  1. “Breastfeeding and the Risk of Sudden Infant Death Syndrome” by Fern R. Hauck, MD, MS, and Rachel Y. Moon, MD. (2017) URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5590615/
  2. “Breastfeeding and maternal and infant health outcomes in developed countries” by Laurence M. Grummer-Strawn and Sara B. Williams. (2013) URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4882694/
  3. “Effect of breastfeeding promotion interventions on breastfeeding rates, with special focus on developing countries” by Arun Gupta, JP Dadhich, and Veena Upadhyay. (2012) URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3492564/
  4. “The impact of breastfeeding on maternal and infant health” by Emily E. Stevens, MPP, RD, and Marianne M. Hillemeier, PhD, MPH. (2014) URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4756965/
  5. “Breastfeeding and the Risk of Childhood Leukemia: A Meta-analysis” by Efrat Amitay and Lital Keinan-Boker. (2015) URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4641071/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *