การเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยการดูแลตนเอง (ไม่ใช้ยา)

การเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วยการดูแลตนเอง (ไม่ใช้ยา)

ก่อนอื่นขอเล่าความจริงบางอย่างเกี่ยวกับการสร้างและการดูดน้ำนมแม่ว่า “ร่างกายของแม่จะสร้างน้ำนมขึ้นทันที เมื่อมีการดูดออกไป” หรืออาจกล่าวได้ว่า “ยิ่งดูด…ยิ่งสร้าง..” หมายความว่า ถ้ามีการดูดน้ำนมโดยลูกน้อยออกไปมากเท่าใด ร่างกายก็จะเร่งสร้างขึ้นมาทดแทนในปริมาณมากเท่านั้น และยิ่งไปกว่านั้น จะด้วยวิธีใดก็ตามที่มีการขับน้ำนมออกมาจากเต้านม เช่น ด้วยการดูดของลูกน้อย หรือการปั๊มนม เมื่อน้ำนมลดลง ร่างกายจะสร้างน้ำนมขึ้นมาทดแทนให้เต็ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกน้อยในมื้อต่อไปทันที (“ยิ่งดูด…ยิ่งปั๊ม… ยิ่งสร้าง”)


ดังนั้น ขั้นตอนง่ายๆ ของการเพิ่มน้ำนมด้วยตนเอง ก็เริ่มด้วยตัวคุณแม่ที่ต้องตั้งใจมุ่งมั่นในการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเอง ซึ่งถือเสมือนเป็นอาหารที่วิเศษที่สุดของลูกน้อย และเชื่อมต่อสายใยด้วยความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นของแม่ที่มีต่อลูก


เมื่อคุณแม่เตรียมพร้อมด้วยความมุ่งมั่นแล้ว ก็ต่อ ด้วยการดูแลลูกน้อยให้เรียนรู้และคุ้นเคยกับการดูดนมจากเต้านมแม่ให้บ่อยขึ้นและนานขึ้น อย่างน้อยให้ได้ 8 ครั้งต่อวัน ในกรณีที่ต้องทำงานและห่างลูกจนลูกดูดนมไม่ได้ ก็อาจใช้วิธีการปั๊มน้ำนมช่วย (“ยิ่งดูด…ยิ่ง ปั๊ม…ยิ่งสร้าง”) เพื่อเพิ่มจำนวนน้ำนมที่ถูกดูดหรือไหลออก และเพิ่มความถี่ของการขับน้ำนมออก ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้สร้างน้ำนมอย่างอัตโนมัติทันที่ที่มีการขับน้ำนมออก


นอกจากนี้ การนวดประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นๆ 3-5 นาทีก่อนการให้นม กระตุ้นหัวนมและลานเต้านมเบาๆ นวดเต้านมก่อนและระหว่างการให้นม พร้อมทั้งจัดท่าทางในการให้นมอย่างถูกวิธี โดยให้ลูกดูดอมหัวนม ให้ลึกถึงลานนมของแม่ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำนมผสม หรืออาหารเสริมอื่นๆ กับลูกน้อยในช่วง 6 เดือนแรก เพราะจะทำให้ลูกน้อยอิ่ม และกินนมแม่ได้น้อยลง ส่วนของตัวคุณแม่เองก็ควรได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนทั้งปริมาณและชนิดของอาหาร พักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมาก ทำจิตใจให้สบาย ด้วยการฟังเพลง นึกถึงแต่สิ่งที่ดีๆ 

กรณีที่น้ำนมน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก จำเป็นต้องให้น้ำนมผสมเสริม ห้ามให้ด้วยการดูดจากขวดนม อาจใช้วิธีการหยอดน้ำนมลงข้างๆ เต้านมให้ลูกดูด หยอดครั้งละน้อยๆ เมื่อน้ำนมสร้างได้มากขึ้น ก็ค่อยๆ ลดปริมาณนมผสมลงได้

Reference

  1. Meier, P. P., Engstrom, J. L., Janes, J. E., Jegier, B. J., & Loera, F. (2012). Breast pump suction patterns that mimic the human infant during breastfeeding: greater milk output in less time spent pumping for breast pump-dependent mothers with premature infants. Journal of Perinatology, 32(2), 103-110. URL: https://www.nature.com/articles/jp2011191 (published in 2012)
  2. Bekele, T., Gebeyehu, A., & Kasaye, H. K. (2017). Maternal breast self-care practice and associated factors in Ethiopia: a systematic review and meta-analysis. BMC Research Notes, 10(1), 744. URL: https://bmcresnotes.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13104-017-3083-3 (published in 2017)
  3. Irfan, S., Usman, M., Sadiq, M., & Ghazanfar, H. (2021). Effect of galactagogues on breast milk production: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Journal of Human Lactation, 37(4), 641-655. URL: https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0890334420986177 (published in 2021)
  4. Cheyne, H., Dowling, B., Hundley, V., & Bland, J. M. (2013). McTavish JC, Greer I. Effects of algorithm for diagnosis of malnutrition risk in pregnancy (ADOM): cluster randomised controlled trial. BMJ, 346, f2650. URL: https://www.bmj.com/content/346/bmj.f2650 (published in 2013)