การปั๊มนมแม่ การเก็บรักษา และวิธีการนำมาใช้

การปั๊มนมแม่ การเก็บรักษา และวิธีการนำมาใช้

สำหรับคุณแม่หลาย ๆ ท่านที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานเมื่อคลอดลูกได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น  ตามหลักการลาคลอดของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นเรื่อง การปั๊มนมแม่ และ การเก็บรักษานมแม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านควรรู้ไว้ค่ะ

อุปกรณ์ในการปั๊มนมแม่ และเก็บน้ำนม มีดังนี้

  • เครื่องปั๊มนม ทั้งแบบไฟฟ้า แบบใช้แบตเตอร์รี่ หรือแบบปั๊มมือธรรมดา หรือมือของคุณแม่เอง
  • ถุงเก็บน้ำนม หรือขวดเก็บน้ำนม
  • กระติกน้ำแข็ง สำหรับในกรณีที่คุณแม่ต้องออกไปปั๊มนมนอกบ้าน และตู้เย็นเก็บสต็อคน้ำนมในบ้าน

วิธีการปั้มนมแม่มีวิธีการที่ไม่ยากเลยค่ะ

การปั๊มนมแม่ สามารถทำด้วยการบีบน้ำนมหรือใช้เครื่องปั๊มนม โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปั๊มนมคือช่วงเช้ามืด ประมาณตี 5 – 7 โมงเช้า  เพราะในช่วงเวลานี้ร่างกายของคุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้มากที่สุดจึงเหมาะแก่การทำ สต็อกน้ำนมแม่เก็บไว้ค่ะ การปั๊มนมในระยะแรกคุณแม่อาจจะปั๊มน้ำนมออกมาไม่ได้มาก ให้คุณแม่ทำอย่างสม่ำเสมอทุกวันน้ำนมก็จะไหลออกมาเพิ่มมากขึ้นค่ะ


ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปั๊มนมในช่วงแรก ๆ ที่พึ่งเริ่มหัดปั๊มควรปั๊มให้ได้ 8 – 10 ครั้งต่อวัน โดยแต่ละครั้งใช้เวลาอย่างน้อย 10 -15 นาที ต่อข้าง และเมื่อคุณแม่มีประสบการณ์ในการปั๊มนมมากขึ้นแล้วอาจลดจำนวนครั้งในการปั๊มเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน โดยใช้เวลาเพียง  10 นาทีในการปั๊มนมต่อข้าง หรือพร้อมกัน 2 ข้าง (หากเป็นเครื่องแบบปั๊มคู่) ควรปั๊มน้ำนมออกให้เกลี้ยงเต้าเพื่อช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น


น้ำนมแม่ที่แช่แข็งไว้ หากต้องการนำมาใช้ให้ทำการละลายด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติประมาณ 12 ช.ม. หลังจากนั้นจึงนำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนนำมาให้ลูกกิน ไม่ควรนำไปอุ่นด้วยการนำเข้าไมโครเวฟ หรือละลายในน้ำร้อนจัด เพราะจะเป็นการทำลายเซลล์ที่มีชีวิตที่อยู่ในน้ำนมแม่

Reference

  1. https://www.medela.com/breastfeeding/mums-journey/storing-breast-milk – เว็บไซต์ Medela อธิบายเกี่ยวกับการเก็บรักษาน้ำนมแม่และวิธีการจัดเก็บน้ำนมเพื่อรักษาคุณภาพของน้ำนม
  2. https://www.llli.org/breastfeeding-info/storing-human-milk/ – เว็บไซต์ของ La Leche League International อธิบายเกี่ยวกับการเก็บรักษาน้ำนมแม่หลังคลอด และวิธีการเก็บรักษาน้ำนมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
  3. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/storing-breast-milk/art-20046350 – เว็บไซต์ Mayo Clinic อธิบายเกี่ยวกับการเก็บรักษาน้ำนมแม่หลังคลอด รวมถึงการเก็บรักษาน้ำนมในช่วงเวลาที่ต่างๆ เพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางโภชนาการสูงสุด