ลักษณะทั่วไปของทารกแรกเกิด

ลักษณะทั่วไปของทารกแรกเกิด

เด็กทารกแรกที่เกิดมาภูมิคุ้มกันยังไม่มากพอ ไม่สามารถที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้ เพราะทารกเพิ่งมีอายุ 4 สัปดาห์ หรือ 28 วันเท่านั้น  ทำให้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว รวมถึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษมากๆ จากทั้งคุณพ่อและคุณแม่ โดยลักษณะของทารกแรกเกิดที่ถูกต้องนั้น มีดังนี้

  • น้ำหนัก
    โดยปกติ จะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 3,200 กรัม ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ลักษณะศีรษะค่อนข้างโตเมื่อเทียบกับลำตัว สามารถที่จะเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อได้ทุกส่วน ถ้าจับให้นอนคว่ำ ก็สามารถที่จะหันศีรษะไปด้านใดด้านหนึ่งได้ โดยไม่ทำให้หายใจลำบาก ถ้ามีเสียงดังหรือได้รับความกระเทือน ทารกจะรู้สึกสะดุ้งตกใจ พร้อมๆกันก็จะกางแขนออก ต่อจากนั้นจึงงอข้อศอกให้ข้อมือเข้าหากัน แล้วจึงร้องมีเสียงดัง ปฏิกิริยาเช่นนี้ถือว่าเป็นปกติธรรมชาติ 
  • สะดือ
    ในวันแรกๆสายสะดือจะมีสีเขียว ต่อมาก็ค่อยๆแห้งลง เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและดำในที่สุด และจะหลุดไปในราววันที่ 7-10 หลังคลอด แต่อาจจะหลุดก่อนหรือหลังกว่านี้ก็ได้  และความสะอาดถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสะดือเด็กจะเป็นสถานที่ที่เชื้อโรคจะเข้าไปได้ง่าย จึงต้องรักษาความสะอาดและให้แห้งอยู่เสมอ โดยใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดให้ทั่วทุกครั้งที่อาบน้ำหรือสกปรกจากอย่างอื่น วันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหลุด
  • ศีรษะ
    โดยปกติมักดูใหญ่ มีผมปกคลุมเต็ม ในวันแรกๆ อาจมีลักษณะค่อนข้างยาว ตรงกลางศีรษะด้านหน้า เหนือหน้าผากขึ้นไปจะมีลักษณะเป็นช่องนุ่มๆ สี่เหลี่ยมเรียกว่า “ขม่อม” จึงต้องคอยระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นบริเวณนี้ เพราะมีมันสมองอยู่ภายในและไม่มีกระดูกแข็งหุ้ม ขม่อมนี้จะปิดเมื่อทารกอายุประมาณ 1 ปี
  • ผิวหนัง
    โดยทั่วไปมักมองเห็นเส้นเลือดฝอยได้ สีมักจะแดงหรือชมพูเข้ม อาจจะมีขนอ่อนอยู่ตามบริเวณไหล่และหลังก็ได้ ในทารกบางคนที่ไม่ครบกำหนดดี อาจพบขนอ่อนชนิดนี้ทั่วตัวก็ได้ ประมาณวันที่ 3 หลังคลอด ทารกบางคนอาจมีผิวหนังเป็นสีเหลืองได้ เชื่อว่าเพราะตับยังเจริญไม่เต็มที่ และทารกที่มีตัวเหลืองทุกรายจึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันโรคร้ายแรงที่รักษาไม่ได้  
  • การหายใจ
    เด็กทารกปกติมักหายใจโดยใช้ท้องเป็นหลัก คือมีการเคลื่อนไหวของท้องมากกว่าทรวงอก หายใจประมาณนาทีละ 30-40 ครั้ง  มากกว่าเด็กโตๆประมาณเท่าตัว ถ้าไม่มีอาการไอหอบหรือตัวเขียวถือว่าปกติ
  • เต้านม
    ทารกปกติไม่ว่าชายหรือหญิง ถ้าครบกำหนดมักจะมีเต้านมที่สามารถจะคลำได้ ในบางคนอาจมีน้ำนม 2-3 หยดไหลออกมาก็ได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ไม่ควรไปบีบเล่น เพราะอาจมีอันตรายและเกิดการอักเสบขึ้นได้
  • อุจจาระ
    ทารกปกติจะถ่ายอุจจาระภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อุจจาระนี้มีสีเทาปนดำเรียกว่า “ขี้เทา” ไม่มีกลิ่น ต่อมาเมื่อทารกได้รับประทานนมแล้ว ขี้เทาจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเทาเข้ม เขียว เขียวเหลือง และเหลืองในที่สุด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน  และทารกจะถ่ายอุจจาระเกือบทุกครั้งที่รับประทานนม อาจจะถ่ายวันละ 3-6 ครั้งก็ได้
  • ขาโก่ง 
    ถ้าเจอเด็กทารกที่มีลักษณะขาโก่งตามธรรมชาติ อย่าได้ไปดัดขาเด็กทารกเด็ดขาด เพราะทำให้เกิดอันตรายได้ทันที  ควรปล่อยให้ทารกที่ขาโก่งนั้น ค่อยๆ ปรับตัวหายไปเองเมื่ออายุ 2 ปี
  • ตา
    ทารกจะมีตาที่เล็กและหน้าตาอ่อนโยน เนื่องจากระบบสายตายังไม่เต็มที่พัฒนาขึ้นมา ตาจะมีผนังด้านหน้าบางเป็นสีเหลืองหรือฟ้า และบางครั้งอาจมีน้ำตาไหลออกมาเพื่อทำหน้าที่ล้างคราบหรือสิ่งสกปรกที่อยู่บนตา
  • ลำตัว 
    ลำตัวของทารกจะเป็นลักษณะที่ยืดหยุ่นและงอง่าย เพื่อให้สามารถผ่านทางท่อคลอดได้ ลำตัวจะมีรูปร่างที่อวบอิ่มและบางครั้งอาจมีส่วนของกล้ามเนื้อเรียงตัวอยู่ด้านหน้าของลำตัว ทารกยังไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้เต็มที่

อย่างไรก็ตาม ทารกแรกเกิดมีลักษณะที่น่าทึ่งและน่าประทับใจอย่างยิ่ง ลักษณะที่น่าสนใจที่สุดคือระบบอวัยวะต่างๆที่พัฒนาอย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ในช่วงเริ่มต้นชีวิต ระบบอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาท ระบบหัวใจและระบบหลอดเลือด ซึ่งการพัฒนาและการทำงานของระบบเหล่านี้เป็นสำคัญในการสร้างพื้นฐานสำหรับการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของทารกในระยะเริ่มต้นของชีวิต

Reference

  1. Centers for Disease Control and Prevention (CDC), U.S. Department of Health & Human Services – Infant Development: What to Expect From Birth to 1 Year : https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/positiveparenting/infants.html
  2. World Health Organization – Child Growth Standards : https://www.who.int/childgrowth/standards/en/
  3. HealthyChildren.org, American Academy of Pediatrics – Developmental Milestones: 2 Month Olds : https://www.healthychildren.org/English/ages-stages/baby/Pages/Developmental-Milestones-2-Month-Olds.aspx