ข้อควรระวังเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ข้อควรระวังเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องที่สำคัญและมีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของลูก และเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่และลูก มีวิธีแนะนำดังนี้

  • การเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี
    เพราะจำกัดการโต้ตอบกับเด็กไว้เพียงการอุ้มลูกมาดูดนมแม่เท่านั้น คุณแม่มือใหม่หลายท่าน จะมีความรู้สึกเป็นห่วงกลัวลูกไม่อิ่ม ดังนั้น เมื่อลูกตื่น หรือ ร้อง จะคอยเอาลูกมาอุ้ม และ ให้กินนมแม่โดยลืมปล่อยลูกวางไว้กับเบาะเพื่อให้ฝึกคืบ หรือพลิกคว่ำพลิกหงาย  รวมถึงไม่ได้ฝึกให้ลูกจับของ หรือ สิ่งต่างๆรอบตัว  ดังนั้น ความฉลาดที่ลูกได้มาจากพ่อแม่ และ ได้เสริมจากการการกินนมแม่ เมื่อไม่ได้รับการฝึกฝน ก็จะไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามที่ควรจะเป็น ทำให้ดูเหมือนเด็กกินนมแม่บางคน พัฒนาการช้ากว่าปกติ
  • หัวนมแตก
    ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะ ท่าอุ้มไม่ถูกวิธีขณะให้ลูกดูดนม  คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ แล้วพบว่า ต่อมา เกิดมีแผลที่หัวนม ให้ระวังว่าจะเกิดจากการให้ลูดดูดนมโดยปากลูกงับไม่ถึงลานนม ทำให้เกิดการเสียดสีของเหงือกลูก กับผิวหนังที่นมแม่ขณะที่ลูกดูดนมแม่ 
    วิธีแก้ คือ ประคองคอลูก แล้วส่งศีรษะลูกมาให้ชิดกับหน้าอกแม่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ปากลูกงับลานนม จะช่วยลดโอกาสการมีแผลเพิ่มที่หัวนม  สำหรับผิวหนังแม่ที่เป็นแผลไปแล้วนั้น รักษาโดยเอาน้ำนมแม่มาป้ายที่แผล แล้วผึ่งให้แห้ง ทำซ้ำได้เป็นระยะ จนกว่าแผลจะหาย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาทา หรือ ยากินแก้อักเสบ

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีปัญหาในการเลี้ยงลูกหรือสุขภาพของแม่หรือลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการดูแลที่เหมาะสมต่อไป

Reference

  1. Centers for Disease Control and Prevention. (2022). Breastfeeding: Health and Safety Tips. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.cdc.gov/breastfeeding/recommendations/safety.htm
  2. La Leche League International. (2022). Breastfeeding and Medications. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.llli.org/breastfeeding-info/medications/
  3. World Health Organization. (2022). Breastfeeding: Frequently Asked Questions. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.who.int/news-room/q-a-detail/breastfeeding-faq