วิธีการละลายนมแม่แช่แข็ง

วิธีการละลายนมแม่แช่แข็ง

การละลายนมแม่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็เขย่าให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากันแล้วป้อนได้เลย หรือไม่ก็นำมาแช่หรือเขย่าในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตสำคัญที่อยู่ในนม

ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาจนเป็นอุณหภูมิปกติ แล้วจึงเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น 

  นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ  ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่ ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วอาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย นมที่เสียจะมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว

ในกรณีที่เก็บนมมีปริมาณมาก ให้แบ่งออกมาแค่พอใช้ (นมที่เหลือในตู้เย็นยังเก็บได้ต่ออีก 2-3 วัน) โดยกะปริมาณนมที่นำมาอุ่นหรือละลายให้พอเหมาะคือ

ปกติเด็กจะกินนม 150 ซีซี ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ต่อวัน

ถ้าเด็กหนัก 6 กก. กินนมทุก 2-3 ชั่วโมง เท่ากับกินวันละ 10 มื้อ

ปริมาณน้ำนมทั้งหมด 150 x 6 = 900 cc

กินนม 10 มื้อๆ ละ 90 cc. ฉะนั้นควรอุ่นนมป้อนให้เด็ก ประมาณ 90 cc ในแต่ละมื้อเพื่อไม่เหลือนมทิ้งถ้าเด็กดื่มไม่หมด 

Reference

  1. La Leche League International. (2022). Heating Breast Milk. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.llli.org/breastfeeding-info/heating-breast-milk/
  2. Centers for Disease Control and Prevention. (2022). Storing and Handling Breast Milk. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.cdc.gov/breastfeeding/recommendations/handling_breastmilk.htm
  3. Medela. (2022). Warming and Thawing Breast Milk. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://www.medela.us/breastfeeding/articles/warming-and-thawing-breast-milk