การทำสต๊อกน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานประจำ

กาทำสต๊อกน้ำนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานประจำ

การทำสต๊อกน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่ต้องกลับไปทำงานประจำ  แต่ยังต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อ เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก แต่ต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าเล็กน้อย นั่นคือการทำการเก็บน้ำนมในระหว่างวันไว้ให้ลูก

การทำการเก็บน้ำนม  ขอแนะนำให้เริ่มเก็บน้ำนมตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะนอกจากจะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลในช่วงใกล้ๆจะกลับไปทำงาน แล้วยังเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมด้วย

หลังจากสัปดาห์แรก  เมื่อทุกอย่างเริ่มเข้าที่เข้าทาง คุณแม่สามารถเลือกช่วงเวลาที่รู้สึกคัดเต้านมมากที่สุด ให้ลูกดูดก่อนข้างหนึ่ง  ถ้าลูกอิ่มดีแล้วก็ปั๊มจากอีกข้างหนึ่งเก็บไว้ วันแรกๆอาจจะได้แค่ติดก้นขวด คุณแม่ปั๊มนมแต่ละครั้งให้ได้อย่างน้อย 15 นาที  ถึงไม่มีอะไรออกมาหรือแค่หยดเดียวติดปลายช้อนก็ไม่เป็นไร  ถ้าน้อยมากๆก็ยังไม่ต้องแช่แข็ง ให้เอาช้อนเล็กๆแตะปลายช้อนทีละนิดแล้วก็ป้อนให้ลูก 

ถ้าลูกดูดข้างเดียวแล้วไม่อิ่มก็ให้ดูดทั้งสองข้าง หลังจากนั้นก็ปั๊มต่อประมาณ 3-5 นาทีต่อข้าง  เพื่อกระตุ้นเต้านม  ในระหว่างวันก็เช่นกัน ทำเรื่อยๆทุกวัน ร่างกายก็จะรับรู้ว่าต้องผลิตน้ำนมเพิ่ม น้ำนมที่ปั๊มก็จะได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พอครบเดือน  ก็จะเริ่มมีน้ำนมที่เก็บไว้พอสมควร แต่ไม่ควรหยุดปั๊ม โดยเฉพาะเด็กที่นอนนานๆ ถ้าลูกไม่ดูดนมทุก 2-3 ชม. ก็ต้องปั๊มออกมาเก็บไว้เรื่อยๆ สำหรับเด็กที่ดูดนมถี่มากๆ ให้เค้าดูดตามต้องการ ซึ่งคุณแม่ต้องพยายามดื่มน้ำมากๆ  ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เต็มที่ ร่างกายคุณแม่ก็จะผลิตน้ำนมได้ตามความต้องการของลูก

และเมื่อลูกอายุครบหนึ่งเดือน  ก็หัดให้ลูกดื่มนมจากช้อน จากแก้ว หรือจากขวด ถ้าเลือกป้อนด้วยช้อนหรือแก้ว ช่วงแรกที่ไม่ถนัดอาจจะหกเลอะเทอะไปบ้าง แต่ถ้าฝึกคล่องแล้วก็จะไม่มีปัญหา คุณแม่สามารถเลือกวิธีป้อนนมได้ตามเหมาะและง่ายกับคนป้อน โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าวิธีไหนดีที่สุด

Reference

  1.  “Human Milk Storage: Simple Steps to Ensure Its Safe Use” by Kelly S. Murray and Donna M. Geddes (2019). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6639492/
  2. “Human Milk Storage and the Use of Banked Milk in the NICU: A Position Statement from the Canadian Paediatric Society” (2017). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5802462/
  3. “Human Milk Storage Practices in the NICU: Results from a Web-Based Survey” by Susanne A. Wiesner, Paula P. Meier, and Aloka L. Patel (2016). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4976441/
  4. “Effect of Storage Temperature and Time on Antioxidant Capacity and Total Phenolic Content of Breast Milk” by Maria Teresa Armenta-Rojas, Lilia G. Noriega-Rivera, and Ana M. Salazar-Montoya (2017). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5417198/
  5. “Inactivation of Human Milkborne Pathogens by Holder Pasteurization to Improve the Safety of Donor Milk for Very-Low-Birth-Weight Infants” by Kelly M. Rossow, Christopher R. Curtis, and Janice E. Sullivan (2016). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5465341/