เมื่อคุณพ่อคุณแม่ ต้องใช้ขวดนมและจุกหลอก

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ ต้องใช้ขวดนมและจุกหลอก

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ ต้องใช้ขวดนมและจุกหลอก ต้องไม่ลืมว่า เด็กทำได้แค่ 2 อย่าง คือ การร้องไห้ กับการดูด การที่เด็กดูดอะไรบ้างอย่างจะทำให้เด็กมีความสุข เพราะรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย ทำให้การดูดจุกหลอกช่วยให้เด็กหยุดร้องไห้หรือนอนหลับได้เองเมื่อเด็กต้องการ และยังช่วยให้เด็กนอนนานขึ้นในตอนกลางวันและนอนหลับได้ดีในตอนกลางคืน

แต่ก็มีข้อเสียก็คือการตอบสนองในการดูดของเด็กด้วยสิ่งอื่นนอกเหนือจากเต้านม มีโอกาสทำให้เด็กเกิดการหย่านมเร็วกว่าที่ควรค่ะ เพราะบางทีก็อยากให้ลูกดูนมแม่ไปนานๆ อย่างน้อยสัก 1 ปี เพราะนมแมมีประโยชน์ที่สุด

จุกหลอก

คือสารสังเคราะห์ที่นำมาทดแทน เด็กที่กินนมจากอกแม่มักจะกินนมจนหลับไปทั้งตอนนอนกลางวันและตอนกลางคืน การใช้จุกหลอกอาจทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงด้วย เกิดจากเต้านมได้รับการกระตุ้นน้อยลง และมีผลต่อระยะเวลาของการให้ลูกกินนมจากอกแม่

การให้เด็กดูดจุกหลอกตั้งแต่แรกเกิดนั้น อาจทำให้เด็กสับสนลักษณะของหัวนม เพราะความแตกต่างของนมแม่กับจุกหลอก หากรอให้เด็กเคยชินกับการดูดนมแม่ก่อนจะดีกว่าค่ะ จะได้ไม่มีปัญหาที่หลัง และระยะเวลาที่เด็กจะเคยชินกับการดูดนมแม่ ควรใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ หรือมากว่านั้นขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนค่ะ

ที่สำคัญ การให้เด็กดูดจุกหลอกตลอดทั้งวัน อาจทำให้เด็กติดจุกหลอกได้ หากเป็นไปได้อาจให้เด็กดูดจุกหลอกในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น  

ขวดนม

การใช้ขวดนมมาเป็นตัวช่วยในการให้นมลูกก็มีข้อดีค่ะ เพราะสามารถรับรู้ปริมาณอาหารที่ลูกได้รับอย่างแน่นอนในแต่ละครั้งหรือแต่ละวัน และแค่ให้ลูกกินนมแม่ก็ช่วยต้านมะเร็งเต้านมด้วย ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมของแม่ได้อย่างดีเลย

แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง คือการให้ลูกดื่มนมจากขวดนม ถ้าในขวดนมเป็นนมผงสำหรับเด็ก จะมีการย่อยที่ช้ากว่าการดื่มนมจากเต้านมของแม่ และค่าใช้จ่ายในการซื้อขวดนมกับนมผงก็แพงกว่าการให้ลูกดื่มนมจากเต้านมของแม่ค่ะ 

จะดีกว่าไหม หากคุณแม่ปั๊มนมเก็บไว้แล้วนำมาอุ่นใส่ขวดนมให้ลูกดื่ม จะทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าแทบไม่ต่างจากการดื่มจากเต้าเลย และถ้าจุกหลอกเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเด็กแล้ว ทำไมถึงไม่ใช้สิ่งที่ดีที่สุดที่เป็นธรรมชาติมากกว่า นั่นคือ “เต้านมแม่” นั่นเองค่ะ

  1. Dewey KG, Heinig MJ, Nommsen LA, Peerson JM, Lonnerdal B. Growth of breast-fed and formula-fed infants from 0 to 18 months: the DARLING Study. Pediatrics. 1992; 89(6 Pt 1):1035-1041. https://pediatrics.aappublications.org/content/89/6/1035.short
  2. Howard CR, Howard FM, Weitzman ML. Infant pacifiers: good or bad? A review of the literature. Pediatrics. 1999; 103(3):e33. https://pediatrics.aappublications.org/content/103/3/e33.short
  3. Gartner LM, Morton J, Lawrence RA, et al. Breastfeeding and the use of human milk. Pediatrics. 2005; 115(2):496-506. https://pediatrics.aappublications.org/content/115/2/496.short
  4. Li R, Fein SB, Chen J, Grummer-Strawn LM. Why mothers stop breastfeeding: mothers’ self-reported reasons for stopping during the first year. Pediatrics. 2008; 122 Suppl 2:S69-S76. https://pediatrics.aappublications.org/content/122/Supplement_2/S69.short