การเลือกอาหารสำหรับลูกน้อย ในแต่ละช่วงวัย

โภชนาการสำหรับลกน้อย เด็กทุกคนควรได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมตามวัย  เพราะเด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี จะส่งผลทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีความบกพร่องต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยและส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ในอนาคต โดยอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของเด็กนั้น

ช่วง 6 เดือนแรกอาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่”  มีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสมกับทารกมากที่สุด อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ลูกเติบโตได้ดี มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและสมอง เช่น ในนมถั่วเหลือง “โคลอสตรัม” (Colostrum) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า มีสารช่วยย่อยและช่วยเร่งการเจริญเติบโต  

สำหรับอาหารเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ปลาน้ำจืด ตับ ผักใบเขียว ข้าวกล้องบด ไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น หรือผักนิ่มๆ  ส่วนผลไม้สุกจัดนิ่มๆ เช่น  กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด, มะละกอบด, มะม่วงสุกบด, ไม่ควรปรุงรสใดๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ  และไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร โดยนำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น  

7 เดือน  แนะนำให้กินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 1 มื้อ เช่น ข้าวบดละเอียดกับน้ำแกงจืด เพิ่ม เนื้อปลา สลับ หมู ไก่ ตับบด ผักสุกบด ฝักทอง  และผลไม้

8 – 9 เดือน กินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 2 มื้อ ในช่วงเวลาไหนก็ได้ ควรเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น และทำให้เนื้อของอาหารบดนั้นข้น หนืดขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกการกลืน

10 – 12 เดือน ให้ลูกกินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 3 มื้อ เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นกว่าเดือนก่อน ๆ แนะนำให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลายชนิดมากขึ้น และคุณแม่สามารถให้นมลูกในช่วงระหว่างมื้ออาหารได้ เช่น ก่อนมื้อเช้า หลังมื้อเที่ยง หรือก่อนนอน

1 ปี ให้ลูกได้กินอาหาร 3 มื้อ และเสริมด้วยนมอีก 3 มื้อ โดยลูกจะสามารกินอาหารได้เหมือนคนทั่วไป เน้นอาหารที่ไม่แข็งมาก  เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำ โจ๊ก ข้าวต้ม หรือราดหน้า ในวัยนี้ลูกจะเริ่มใช้ช้อนตักเองได้ แต่อาจจะยังหกหรือเลอะเทอะอยู่ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ช่วยตัวเองในการหัดตักอาหาร