5 วิธีพ่อช่วยแม่เลี้ยงลูกน้อยให้ผูกพัน

สำหรับการเลี้ยงลูกในยคุสมัยนี้ ไม่ใช่หน้าที่ของคุณแม่เพียงคนเดียวอีกแล้ว แต่เป็นเรื่องของคุณพ่อที่ต้องคอยช่วยคุณแม่ด้วยเช่นกัน  เพราะบางช่วงเด็กๆ ก็สามารถเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจวิธีเลี้ยงดูเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กให้มีพัฒนาการที่สมวัย ดังนั้น “พ่อ” คือหนึ่งคนที่สำคัญ และมีบทบาทในการช่วยเลี้ยงดูเด็กเล็กๆ ให้เติบโตพร้อมมีพัฒนาการที่ดีด้วย

1. ช่วยภรรยาเลี้ยงลูก

ในปัจจุบันเมื่อสังคมเปลี่ยนไป ผู้หญิงไม่ได้ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านเท่านั้น แต่ยังเป็นคุณแม่ที่ต้องทำงานอีกด้วย พ่อจึงต้องแสดงบทบาทของความเป็นพ่อในการดูแลและพัฒนาลูกไปพร้อม ๆ กับแม่ คุณพ่อยุคใหม่จึงต้องชงนม ป้อนข้าว ป้อนน้ำ อาบน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม กล่อมลูกนอน เล่นกับลูกได้

2. สร้างความเข้มแข็งในจิตใจของลูก

หากลูกได้มีเวลาได้อยู่ใกล้ชิดกับพ่อ ได้รับการกอดสัมผัสจากพ่อตั้งแต่วัยเยาว์ ลูกจะมีความรู้สึกประทับใจในตัวพ่อ และยึดพ่อไว้เป็นแกนหลัก แต่ถ้าชีวิตของพ่อขาดแก่นสาร ขาดความเป็นผู้นำ ไม่มั่นคง ครอบครัวก็ระส่ำระสายรวนเร จิตใจของลูกก็ขาดที่ยึดเหนี่ยว จึงอ่อนแอและเปราะบางง่าย

3. เป็นหลักประกันความมั่นคงปลอดภัย

ด้วยสรีระของพ่อที่แข็งแรง ลูก ๆ จะรู้สึกว่า มีผู้ที่มีความสามารถเก่งกล้าอยู่ในบ้าน ทำหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ทำให้ลูกมีความอบอุ่นมั่นคง

4. เป็นหัวหน้าครอบครัว

พ่อมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบเลี้ยงดูภรรยาและลูกให้มีความสุขตามอัตภาพ พ่อจึงต้องขวนขวายทำงานหารายได้ไว้จับจ่ายใช้สอยในครอบครัวและยามฉุกเฉิน

5. เป็นแบบอย่างของความเป็นชายให้ลูกได้ลอกเลียนแบบในช่วงอายุ 3 – 6 ปี

ในการเลียนแบบความเป็นชายพัฒนามาจากการที่เด็กชายได้สัมผัสใกล้ชิดกับพ่อ เห็นบทบาทความเป็นชายของพ่อที่ถูกต้อง เด็กชายจะเกิดการอยากเอาอย่างพ่อ มีความประพฤติทางเพศที่เหมาะสม ดังนั้นพ่อจึงต้องให้ความเป็นเพื่อน เป็นที่พึ่งพาของลูกชาย

เลี้ยงลูกให้ผูกพันกับพ่อแม่

พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยความรัก ความเข้าใจ และไวต่อความต้องการทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ของลูก ตอบสนองได้ทันท่วงทีและสม่ำเสมอ ลูกจะมีความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคงกับพ่อแม่ ส่งผลให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) และไว้วางใจผู้อื่น (Trust)    เด็กได้สัมผัส ได้เรียนรู้ ได้รู้จัก ความรัก ความเอาใจใส่ ความไว้วางใจ ก็จะส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้ผู้อื่น

4 องค์ประกอบสำคัญ

1. Safe Haven พ่อแม่คอยเอาใจใส่ ดูแล ให้ลูกสบายกาย สบายใจ และปลอดภัย (ให้เจ้าตัวน้อยเหมือนอยู่บนสวรร์คเลย)

2. Separation Distress เด็กจะกังวล ไม่สบายใจ งอแง เมื่อต้องอยู่ห่าง หรือแยกจากพ่อแม่ และดีใจเมื่อพ่อแม่กลับมา

3. Proximity Maintenance เด็กอยากอยู่ใกล้ๆ หรือจะคอยมองว่าเราอยู่ในสายตา เพื่อความอุ่นใจและปลอดภัย

4. Secure base   พ่อแม่เป็นฐานเติมพลังใจสำหรับลูก คอยให้กำลังใจ ปลอบใจ เมื่อลูกเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ

**คุณภาพของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเด็กโดยเฉพาะในช่วง 3 ขวบแรก จะเป็นแม่แบบที่กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ และการปฏิสัมพันธ์ที่เด็กจะมีกับผู้อื่นเมื่อเค้าเติบโตขึ้นค่ะ