วิธีรับมือกับลูกน้อยที่ดูดนมยาก  

วิธีรับมือกับลูกน้อยที่ดูดนมยาก  

                 

ภาวะลิ้นติด เป็นอุปสรรคอย่างนึงของการให้นมแม่ และไม่ใช่เรื่องเล็กอย่างที่คิดด้วยค่ะ  ยังทำให้ลูกน้อยดูดนมได้ไม่ดี เต้านมคุณแม่จึงไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอ เมื่อน้ำนมคุณแม่ไหลไม่ดี ก็ส่งผลให้น้ำนมไม่มากพอให้ลูกน้อย

สำหรับ Tongue-tie หรือภาวะลิ้นติด เป็นภาวะที่ลิ้นเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด ทำให้เลียริมฝีปากหรือกระดกลิ้นไม่ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการพูด การรับประทานอาหาร การกลืน และการดูดนมแม่  ซึ่งมักพบได้ในเด็กแรกเกิดและจะหายไปได้เองเมื่อโตขึ้นค่ะ

อาการของภาวะลิ้นติด

• แลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปาก

• ไม่สามารถขยับลิ้นไปด้านข้างและมุมปากได้

• ไม่สามารถทำให้ปลายลิ้นแตะเพดานปากได้

• เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นอาจมีลักษณะแบน เป็นเหลี่ยม หรือมีรอยหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ

• อาจมีช่องว่างระหว่างฟันหน้าด้านล่างทั้ง 2 ซี่  

วิธีสังเกตอาการ ขณะคุณแม่ให้นมลูก

• ไม่สามารถเปิดปากได้กว้างพอจะดูดนมจากเต้า และมักดูดงับหัวนมไม่ค่อยอยู่

• มักเคี้ยวหัวนมมากกว่าดูดน้ำนม  

• ดูดนมเป็นเวลานาน มีการหยุดดูดเป็นช่วงสั้น ๆ แล้วจึงดูดนมต่อ  

• มีเสียงดังคลิกเกิดขึ้นขณะดูดนม

• มักหิวอยู่ตลอดเวลา และเด็กมีน้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

• ระหว่างหรือหลังให้นมลูก คุณแม่อาจมีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก เกิดรอยกดหรือรอยริ้วบริเวณหัวนม และหัวนมแบน

อาการแทรกซ้อนของภาวะลิ้นติด

• คุณแม่มีปัญหาในการให้นมลูก ระหว่างที่ให้นมลูก เด็กที่มีอาการภาวะลิ้นติด จะไม่สามารถขยับลิ้นให้อยู่ในท่าทางที่เหมาะสมในการดูดน้ำนมได้ เด็กจึงใช้เหงือกบริเวณขากรรไกรส่วนหน้าด้านบนและด้านล่างงับหัวนมแม่แทน จึงอาจส่งผลให้เกิดแผลแตกที่หัวนม เต้านมคัด และเต้านมอักเสบได้ 

• ออกเสียงยากลำบาก  อาจทำให้เกิดปัญหาในการพูดและการออกเสียงที่ต้องใช้ลิ้นแตะเพดานปากหรือกระดกลิ้น  

• เกิดผลกระทบต่อการทำกิจกรรมบาง อย่างเช่น การเลียไอศกรีม การเลียริมฝีปาก การจูบ และการเล่นเครื่องดนตรีประเภทเป่า

วิธีป้องกันภาวะลิ้นติด

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิดภาวะลิ้นติด  จึงยากที่จะป้องกันภาวะนี้ได้  แต่หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกน้อยป่วยเป็นภาวะนี้หรือไม่  ควรไปปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ได้แต่เนิ่นๆ ค่ะ

Reference

  1. “The Effect of Breastfeeding Self-efficacy on Breastfeeding Duration” by Karen Wambach and Diane Aaronson (2011): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3169357/
  2. “The Effect of Different Breastfeeding Positions on Sucking and Swallowing in Premature Infants” by Jila Mirlashari, Fatemeh Hassani Mehraban, and Mohammad Bagher Hosseini (2013): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4236882/
  3. “Breastfeeding Promotion, Support and Protection: Review of Six Country Programmes” by Debra L. Jackson, Fiona Dykes, and Susan M. Galloway (2012): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3404554/
  4. “Effect of Breastfeeding on Infant and Child Mortality Due to Infectious Diseases in Less Developed Countries: A Pooled Analysis” by Theodoratou E, Zeitlin J, Javad D, et al. (2012): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3270059/
  5. “Breastfeeding Duration and Academic Achievement at 10 Years” by Mandy B. Belfort, Sheryl L. Rifas-Shiman, Emily Oken, et al. (2013): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3758158/