อาหารต่างๆ ที่เรากินอยู่ทุกวัน นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังมีส่วนช่วยบำรุงเพิ่มพลังรักให้มีชีวิตชีวา เพิ่มความฟิตปึ๋งปั๋ง และสมรรถภาพทางเพศให้กับหนุ่มๆ ได้ดีไม่แพ้ยาตัวไหน ๆ เลยทีเดียว ลองมาดูกันว่าอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มพลังทางเพศนั้น มีอะไรกันบ้าง
1. หอยนางรม
ถือเป็นอาหารทะเลที่มีปริมาณแร่ธาตุสังกะสีสูงมาก ช่วยเพิ่มจำนวนสเปิร์ม และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน นอกจากนั้น ยังมีสารโดพามินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเพิ่มความสนุกในการมีเซ็กซ์ และยังมีโอเมก้า 3 ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบประสาทในด้านการตอบสนองทางเพศอีกด้วย
2. ช็อกโกแลต
ของหวานสุดโปรดของหลายๆ คน ในช็อกโกแลตมีสารเมทิลแซนไทน์ ซึ่งมีผลต่อหัวใจและระบบประสาท เมื่อกินแล้วจะกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น และสร้างความพึงพอใจในระหว่างการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
3. แตงโม
จากผลการวิจัยของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าการกินแตงโมส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตทั่วร่างกาย เพราะในแตงโมมีสาร Citruline Amino Acid ซึ่งดีต่อระบบไหลเวียน และช่วยคลายเส้นเลือด จึงสามารถช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ จนได้รับการยกย่องจากทางการแพทย์ว่าเป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณเปรียบเสมือนไวอากร้าเลยล่ะ
4. กล้วย
ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามิน ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเรื่องพละกำลัง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่การวิจัยยังชี้ว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีส่วนช่วยบำรุงเซ็กซ์ได้เป็นอย่างดี เพราะนอกจากจะมีสารอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลแล้ว ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุโปรแตสเซียมซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ คุณผู้ชายจึงควรกินกล้วยหอมอย่างสม่ำเสมอเพราะเป็นผลไม้ที่มีไซโอเอสโตรเจนที่ช่วยกระตุ้นฮอร์โมน รวมถึงมีเอนไซม์ Bromelain ที่สามารถเพิ่มสัญชาตญาณทางเพศให้กับผู้ชายได้
5. กระเทียม
พืชสมุนไพรไทยที่อาจจะมีกลิ่นรุนแรงอยู่สักหน่อย แต่ในกระเทียมนั้นมีสารอัลลิซิน ที่ช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตบริเวณอวัยวะเพศชายทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศได้เป็นอย่างดี อาจจะลองมองหากระเทียมในรูปแบบแคปซูลมากิน เพื่อหลีกเลี่ยงกลิ่นอันรุนแรงก็ได้เช่นกัน
อาหารง่ายๆ ใกล้ตัวบางอย่างที่เรามองข้ามไป นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้วยังสามารถช่วยบำรุงและเพิ่มพลังรักให้มีชีวิตชีวาได้อีกต่างหาก นอกจากการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการแล้วการหมั่นออกกำลังกายไม่ดื่มเหล้าไม่สูบบุหรี่จัดและมีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะทำให้ความปึ๋งปั๋งเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ เช่นกัน
Reference
- “The Effect of Physical Activity on Erectile Dysfunction” (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6709866/
- “Diet and Men’s Sexual Health” (2019) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6780767/
- “Association Between Sleep Disorders, Erectile Dysfunction and Risk of Cardiovascular Events: A Systematic Review and Meta-Analysis” (2020) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7278809/
- “Testosterone and Sexual Function” (2018) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6233899/
- “The Role of Nitric Oxide in Erectile Dysfunction: Implications for Medical Therapy” (2018) – https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5971676/