เต้านมอักเสบมีก้อนแข็งควรปฎิบัติตัวอย่างไร

เต้านมอักเสบมีก้อนแข็งควรปฎิบัติตัวอย่างไร

สำหรับอาการเต้านมอักเสบ (breast engorgement) ที่เกิดจากการให้นมลูกเป็นอาการที่พบได้บ่อยในช่วงเริ่มต้นของการให้นมลูก อาการอักเสบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วง 2-4 วันแรกหลังจากเริ่มให้นมลูก และอาจรุนแรงขึ้นไปเมื่อไม่ได้รับการรักษาให้เหมาะสม 
 

1. อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น
เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั๊มให้บ่อยขึ้น นมที่ปั๊มอย่าทิ้ง เก็บได้ กินได้ ตามปกติ จัดท่าให้คางลูกอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นก้อน อาจต้องตีลังกาดูด ถ้าก้อนอยู่ด้านบน อาจให้พ่อแปรงฟันให้สะอาด ลองช่วยดูดดูโดยจินตนาการเหมือนดูดชานมไข่มุกที่ดูดไม่ขึ้น โดยใช้มือช่วยบีบไล่น้ำนมด้วย 

2. การประคบอุ่นหรือร้อน
จากด้านนอกผิวหนัง อาจไม่ช่วยอะไรมาก เพราะเป็น superficial heat แต่ไม่เสียหายที่จะลองทำดู วิธีที่ได้ผลคือ deep heat โดยการทำอัลตราซาวด์ที่แผนกกายภาพบำบัด ด้วยกำลัง 2 watt/cm2 นาน 5 นาที วันละ 1 ครั้ง โดยทำซ้ำได้ 2-3 วัน (โดยแพทย์เป็นคนสั่งการรักษา) แล้วตามด้วยการบีบน้ำนมไล่ออกมาตามท่อ ร่วมกับการดูดจากลูก จะช่วยให้ที่อุดตันหลุดเร็วขึ้น

3.ต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
ถ้าเป็นนานเกิน 48 ชั่วโมงแล้ว ไม่เช่นนั้น อาจพัฒนาจนกลายเป็นฝีได้ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ โดยไม่มีปัญหากับการให้นม เช่น dicloxacillin ถ้าแพ้เพนนิซิลลิน ให้ใช้ clindamycin (ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยา)

4.ถ้ามีจุดสีขาวที่หัวนม (white dot)
ถ้าให้ลูกดูดขณะหิวจัดแล้วไม่หลุด ให้ใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื้อที่ร้านขายยา) สะกิดให้หลุด 

5.ถ้าเป็นฝีแล้ว
ห้ามให้หมอกรีดแผลเด็ดขาด แต่ให้ใช้เข็มเบอร์ใหญ่ที่สุด พยายามดูดออกหนองออกให้หมด อาจดูดซ้ำหลายๆครั้ง และให้ยาปฏิชีวนะให้นานจนฝีหยุบเป็นปกติ โดยไม่ต้องหยุดให้นมลูก และดูดเต้าได้ตามปกติ เมื่อไม่มีบาดแผลที่เต้า คุณแม่ก็ไม่เจ็บเวลาลูกดูด


แต่ถ้ากรีดเป็นแผลแล้ว คุณแม่ก็จะเจ็บมาก จนให้ลูกดูดไม่ได้ และน้ำนมจะซึมรั่วออกทางแผลตลอดเวลา ทำให้แผลไม่สมานปิด แล้วในที่สุด หมอที่กรีดแผล ก็จะบอกคุณแม่ว่า จำเป็นต้องใช้ยาหยุดน้ำนม ที่ชื่อ parlodel เพื่อให้น้ำนมแห้งไปก่อน แล้วเมื่อแผลหายแล้ว ค่อยให้นมใหม่ ซึ่งในความเป็นจริง คือ ไม่มีใครได้กลับมาให้นมแม่ได้อีกเลย เพราะลูกติดขวดไปแล้ว และนมแม่แห้งไปแล้ว การกู้น้ำนมก็จะยากมากจริงๆ จนคุณแม่ถอดใจท้อไปเสียก่อน

Reference

  1. “The effect of exercise on cardiovascular health in older adults” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6351742/
  2. “The relationship between sleep and mental health” (2019): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6622204/
  3. “The effects of mindfulness meditation on stress and anxiety” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5741503/
  4. “The impact of social support on mental health” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5923739/
  5. “The benefits of yoga on physical and mental health” (2016): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5106779/
  6. “The effects of music therapy on pain and anxiety in hospitalized patients” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6060478/
  7. “The relationship between nutrition and mental health” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5872789/
  8. “The impact of stress on the immune system” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5859128/
  9. “The effects of cognitive-behavioral therapy on anxiety and depression” (2019): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6771052/
  10. “The relationship between physical activity and cognitive function” (2019): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6723344/