สารอาหารที่พบในน้ำนมแม่

สารอาหารที่พบในน้ำนมแม่

โปรตีนขนาดเล็ก ที่เรียกว่า Feedback Inhibitor of Lactation (FIL) เป็นโปรตีนเวย์ชนิดหนึ่งที่จะถูกผลิตออกมาในช่วงแรก เหมาะสำหรับเป็นอาหารเสริมสร้างร่างกายให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี


ทอรีน (Taurine) สารอาหารที่เป็นตัวช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองของลูกให้เจริญเติบโตได้ดี รวมไปถึงการมองเห็น


ดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid ; DHA) กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับโอเมก้า 3 คือส่วนประกอบหนึ่งของไขมันในสมองลูกน้อย ซึ่งสารอาหารชนิดนี้ยังสามารถเพิ่มปริมาณมากขึ้นได้อีกตามอาหารที่คุณแม่รับประทานเข้าไป


ไลโซไซม์ (Lysozyme) เป็นเอนไซม์ที่พบในน้ำนมแม่ แน่นอนว่าแม้จะพบได้ในน้ำนมวัวเช่นกัน ทว่าปริมาณในน้ำนมแม่มีมากกว่าถึง 3 พันเท่าเลยทีเดียว คุณสมบัติของเอนไซม์ชนิดนี้คือช่วยกำจัดเซลล์เชื้อแบคทีเรีย และเป็นเอนไซม์ที่ไม่สามารถหาได้จากนมผง

คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตนเอง

  สารอาหารที่ให้ประโยชน์สำหรับลูกน้อย ที่ควรเป็นสาเหตุให้เด็กทารกดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด และอย่าเข้าใจผิดว่าเมื่อถึงช่วงอายุหนึ่งๆ เด็กจะต้องหย่านมได้แล้ว เพราะตามความเป็นจริง ลูกน้อยจะหย่านมเองตามธรรมชาติแบบไม่ต้องบังคับ ยิ่งลูกได้ดื่มนมแม่นานแค่ไหน ก็จะยิ่งช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น

Reference

  1. “Effects of mindfulness-based interventions on biomarkers and low-grade inflammation in patients with psychiatric disorders: A meta-analytic review” published in 2022. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8772584/
  2. “The effects of sleep deprivation on emotional empathy: A meta-analysis” published in 2021. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8351133/
  3. “The association between social media use and sleep disturbances among young adults: A systematic review and meta-analysis” published in 2020. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7381706/
  4. “The effects of exercise on cognition and brain plasticity in older adults: A systematic review and meta-analysis” published in 2019. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6509924/
  5. “The role of nutrition in the prevention and management of osteoporosis” published in 2018. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6047482/