การเลือกโภชนาการที่ดีแก่คุณแม่ให้นมลูกน้อย

การเลือกโภชนาการที่ดีแก่คุณแม่ให้นมลูกน้อย

 
เมื่อภาวะโภชนาการในขณะตั้งครรภ์ดีแล้ว ทำให้พื้นฐานของภาวะโภชนาการในระยะให้นมบุตรดีด้วย แต่คุณแม่ที่ให้นมบุตรยังจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อทารกอีก เพราะทารกยังต้องกินนมแม่อยู่  แม่จึงต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อสร้างน้ำนมให้ทารก โดยเฉพาะใน 6 เดือนแรกหลังคลอด 

  
ช่วงนี้ทารกจะได้รับน้ำนมของแม่เป็นหลัก การเจริญเติบโตของทารกในระยะนี้จึงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมแม่เป็นหลัก ถ้าแม่มีภาวะโภชนาไม่ดี ก็จะส่งผลให้ปริมาณน้ำนมแม่น้อยลงไม่เพียงพอสำหรับทารก ถ้าแม่มีภาวะโภชนาการดีทั้งในระยะตั้งครรภ์และระยะให้นมบุตร จะมีปริมาณน้ำนมเพียงพอสำหรับทารกไปจนถึง 6 เดือนหลังคลอด ดังนั้น ในระยะให้นมบุตรแม่จึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อจะใช้ในการสร้างน้ำนมสำหรับทารกและเสริมสร้างซ่อมแซมสุขภาพของแม่ให้สมบูรณ์อีกด้วย

               
ดั้งนั้น คุณแม่ที่มีโภชนาการที่ดีก็จะมีน้ำนมที่ดีมีคุณภาพและเพียงพอให้กับทารก จะส่งผลให้ทารกได้รับสารอาหารเพียงพอ ครบถ้วน ตามความต้องการของร่างกาย มีพัฒนาการทางร่างกาย และพัฒนาการทางสมองที่สมวัย และนมแม่ก็ยังเป็นภูมิคุ้มกัน ช่วยลดการเกิโรคถูมิแพ้ให้กับทารกอีกด้วย

สารอาหารที่ให้พลังงาน

  ได้แก่  คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน  และโปรตีน  ในระยะให้นมบุตร  ร่างกายจำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น  เพื่อใช้ในการผลิตน้ำนมสำหรับทารก  ซึ่งในแต่ละวันแม่จะผลิตน้ำนมสำหรับทารกในระยะ 6 เดือนแรก ประมาณ 850 มิลลิลิตร แต่ในช่วง 6 เดือนหลัง ปริมาณน้ำนมจะลดเหลือวันละ 600 มิลลิลิตร ซึ่งแม่จะต้องใช้พลังงาน 800 กิโลแคลอรี ในการผลิตน้ำนม 850 มิลลิลิตร เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์จะมีการสะสมไขมันอยู่ประมาณ 4000 กรัม  ดังนั้นคุณแม่ที่ให้นมบุตรจะได้รับพลังงานจากไขมันที่สะสมอยู่ประมาณวันละ 200 – 300 กิโลแคลอรี ซึ่งจะสามารถนำมาใช้ได้ประมาณ 4 เดือน

คณะกรมการอาหารและโภชนาการของสหรัฐจึงได้เสนอแนะให้หญิงให้นมบุตรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากปกติอีก 500 กิโลแคลอรี อาหารที่ให้พลังงานเพิ่มในระยะนี้ควรมาจาก คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ได้แก่  ข้าวหรือแป้งชนิดต่างๆ เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นส่วนใหญ่ และจากไขมันบ้าง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก และพวกของหวาน กะทิต่างๆ เพราะจะทำให้ได้รับพลังงานสูง แต่คุณค่าทางอาหารน้อย และอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้

Reference

  1. “The Effects of Mindfulness-Based Interventions on Diabetes-Related Distress, Quality of Life, and Metabolic Control Among Adults with Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-analysis” published in 2021. URL: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33856608/
  2. “A Review of Sleep Disorders and Melatonin” published in 2020. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7265811/
  3. “Effects of Cognitive Behavioral Therapy on Insomnia: A Meta-Analysis” published in 2019. URL: https://jamanetwork.com/journals/jamainternalmedicine/fullarticle/2737084
  4. “The Impact of Social Media on Body Image: A Systematic Review” published in 2018. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6080382/
  5. “Effects of Physical Exercise on Cognitive Functioning and Wellbeing: Biological and Psychological Benefits” published in 2017. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5928530/