การระบายน้ำนมออกจากเต้า

การระบายน้ำนมออกจากเต้า

เวลาที่เราพูดคำว่า “เกลี้ยงเต้า” นั้น แท้จริงแล้วหมายถึง การระบายจนน้ำนมส่วนใหญ่ออกจากเต้าเกือบหมด (70-80%) เท่านั้นเองไม่ใช่เกลี้ยงจนไม่เหลืออะไรเลย ลองคิดถึงการบ้วนน้ำลายดูเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะบ้วนน้ำลายจนเกลี้ยงปากเพราะน้ำลายจะถูกผลิตอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน


สำหรับคำถามที่ว่าการให้ลูกดูดหรือเครื่องปั๊ม แบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่ากัน เรื่องนี้ก็สร้างความเข้าใจผิดได้มากทีเดียวเพราะ การที่จะบอกว่าลูกดูดหรือเครื่องปั๊มแบบไหนเกลี้ยงเต้ากว่านั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้าในเต้านมมีน้ำนมพอๆ กับที่ลูกต้องการกินลูกจะดูดได้มากกว่าเครื่องปั๊มเพราะน้ำนมที่เหลือน้อยๆ ลึกๆ ลูกจะดูดออกได้ดีกว่าแต่ถ้าในเต้านมมีน้ำนมมากกว่าที่ลูกต้องการการปั๊มนมจะปั๊มออกมาได้มากกว่าลูกดูด เพราะลูกจะดูดน้ำนมเท่าที่เขาต้องการเท่านั้นเมื่ออิ่มแล้วก็จะหยุดดูดแม้ว่าเขาจะยังอมหัวนมแม่อยู่แต่ลักษณะการดูดจะเปลี่ยนไป คือดูดเล่น ไม่ได้ดูดกิน จึงยังมีนมเหลือค้างอยู่ในเต้า ซึ่งนมส่วนที่เหลือนี้สามารถใช้เครื่องปั๊มหรือมือบีบออกมาทำสต็อคน้ำนมได้


คุณแม่ที่กังวลว่าลูกไม่ดูดเต้าเลย จะเลี้ยงนมแม่ได้นานแค่ไหนนั้นไม่จำเป็นต้องกังวลเลยตราบใดที่ไม่ขี้เกียจปั๊ม จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานแค่ไหนก็ได้  จริงๆแล้วคนที่ขยันปั๊มแต่ลูกไม่ดูดผลิตน้ำนมได้มากกว่าคนที่ลูกดูดแต่ขี้เกียจปั๊มเสียอีก


สำหรับคนที่ปั๊มนมเป็นประจำแล้วตอบสนองกับเครื่องได้ดี คือกลไกการหลั่งน้ำนมทำงานทุกครั้ง จี๊ดไป 2-3 รอบแล้ว เต้านิ่มแล้วจะต้องบีบด้วยมือต่อให้เกลี้ยงที่สุดเท่าที่จะเกลี้ยงได้หรือไม่นั้นขอบอกว่าไม่จำเป็น ทำหรือไม่ทำก็ได้สิ่งที่ควรทำคือ ปั๊มบ่อยๆอย่าทิ้งช่วงนานมากกว่าระบายออก 80% ทุก 2-3 ชม. ร่างกายจะผลิตน้ำนมได้มากกว่าระบายออก 95% ทุก 4-5 ชม.

Reference

  1.  “The impact of social support on mental health” (2016): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4931796/
  2. “The effects of mindfulness meditation on chronic pain” (2014): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4313589/
  3. “The relationship between vitamin D and bone health” (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6041289/
  4. “The effects of smoking on lung function” (2019): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6592669/
  5. “The impact of nutrition on mental health” (2020): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7271189/