การกินอาหารเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และทารกและ นี่คือเคล็ดลับเพื่อเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอด
1. กินอาหารให้เพียงพอ
กินจนรู้สึกอิ่ม ความรู้สึกอิ่มจะมีผลไปเพิ่มการหลั่งฮอร์โทนออกซีโทซิน ซึ่งทำให้มีการหลั่งน้ำนมเพิ่มมากขึ้น
2. กินอาหารจำพวกธัญพืช
กินอาหารจำพวกธัญพืชให้ได้ประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณอาหารที่ได้รับต่อวัน ธัญพืชที่ควรกิน ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ เพราะในอาหารจำพวกธัญพืชมีน้ำตาลที่ชื่อบีตา-กลูแคน ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม
3. กินอาหารที่สร้างให้เกิดภาวะสมดุลร้อน-เย็น
จากทฤษฎีการแพทย์ตะวันออกเชื่อว่าผู้หญิงที่คลอดบุตรใหม่ๆ ร่างกายจะมีภาวะเย็น หรือหมายถึงการที่อวัยวะภายในยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั้น การที่จะทำให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้นนั้น ควรที่จะกินอาหารหรือสมุนไพรที่มีรสร้อน เพื่อไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือด อันจะทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงการหลั่งของน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย
คุณแม่บางรายที่มีน้ำนมน้อย เมื่อเริ่มกินอาหารที่มีรสร้อน ก็จะทำให้น้ำนมเพิ่มขึ้น อาหารหรือสมุนไพร ที่มีรสร้อน เช่น ขิง แกงเลียง ส่วนผักที่มีลักษณะกรอบ แข็ง (ผักกาด กะหล่ำปลี บร็อกโคลี และแครอต เวลานำมาปรุงเป็นอาหารควรใส่สมุนไพรที่มีรสร้อนลงไปด้วย เพื่อให้ร่างกายของแม่ย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้น อีกทั้งสมุนไพรที่มีรสร้อนส่วนมากมักจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ซึ่งมีผลทำให้มีการเพิ่มของปริมาณน้ำนมได้
4. กินอาหารที่มีไขมันจำเป็น (Essential fatty acids) เพิ่มขึ้น
เพราะไขมันเป็นสารอาหารที่เพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ำนมแม่
5. ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป
เช่น อาหารบรรจุเสร็จ ขนมอบ เบเกอรี่ เนื่องจากในอาหารเหล่านี้มีสัดส่วนของไขมันชนิดทรานส์ (Trans-fatty acid) ในปริมาณค่อนข้างสูง ไขมันชนิดนี้อาจมีผลทำให้เอนไซม์ ของร่างกายทำงานได้ลดลง รวมทั้งไปรบกวนการสร้างไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกด้วย
Reference
- “The Effects of Mindfulness-Based Interventions on Diabetes-Related Distress, Quality of Life, and Metabolic Control Among Adults with Type 2 Diabetes: A Systematic Review and Meta-analysis” published in 2021. URL: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33856608/
- “A Review of Sleep Disorders and Melatonin” published in 2020. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7265811/
- “Effects of Cognitive Behavioral Therapy on Insomnia: A Meta-Analysis” published in 2019. URL: https://jamanetwork.com/journals/jamainternalmedicine/fullarticle/2737084
- “The Impact of Social Media on Body Image: A Systematic Review” published in 2018. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6080382/
- “Effects of Physical Exercise on Cognitive Functioning and Wellbeing: Biological and Psychological Benefits” published in 2017. URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5928530/