G6PD ทำไมเด็กๆ ถึงเป็นโรคนี้กันเยอะ

G6PD ทำไมเด็กๆ ถึงเป็นโรคนี้กันเยอะ

  หลังคลอดได้ไม่กี่วัน อยู่ดี ๆ หมอมาบอกว่า ลูกสาวเราตัวเหลือง คือเป็นโรค G6PD โรคพร่องเอนไซม์ หรือ โรคแพ้ถั่วปากอ้า ถ้าเป็นแม่ๆ เจอเรื่องช็อกนี้ จะสติแตกมั้ยคะ (เครียดสิคะ)

อยู่ดี ๆ ลูกก็ตัวเหลืองขึ้น จนหมอต้องแอดมิดไปเจาะเลือด ดูค่าตัวเหลือง ความรู้สึกนี้ คนไม่ได้เป็นแม่ ไม่ได้เข้าใจหรอกค่ะ แล้วคงจะสงสัยว่า โรคนี้เกิดจากอะไร ทำไมเด็กถึงเป็นกันมาก ขออธิบายให้ฟังอย่างนี้ค่ะ

จีซิกพีดี (G6PD Deficiency) หรือภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี เป็นโรคที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรมค่ะ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ชนิดนี้ และถูกกระตุ้นด้วยของแสลง โดยเฉพาะการทานยาบางชนิด หรือทานถั่วปากอ้า  ก็จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัวง่าย และทำให้เกิดภาวะซีด เหนื่อย อ่อนเพลีย ตัวเหลืองในที่สุดค่ะ

อาการของโรคG6PD 

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ซีดเหลือง อ่อนเพลียมาก
  • ปัสสาวะสีดำคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า
  • สำหรับทารกแรกเกิดจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หลังคลอดเพียงไม่กี่วัน
  • อาการเหลืองจัด หรือเหลืองนานกว่าปกติ หรือมีภาวะซีดร่วมด้วย

ข้อควรปฏิบัติเมื่อลูกเป็น G6PD 

  • เมื่อเจ็บป่วย ไม่ควรซื้อยากินเอง ควรปรึกษาแพทย์และแจ้ง ให้แพทย์ทราบว่าเป็นโรคนี้
  • หลีกเลี่ยงยาและอาหารบางอย่าง เช่น ถั่วปากอ้าพืชตระกูลถั่ว บลูเบอรี่ โทนิค (tonic) แอสไพริน ยากลุ่มซัลฟา
  • เมื่อมีอาการซีดลง เพลีย ปัสสาวะสีเข้ม เหมือนสีโค้ก ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรพบแพทย์โดยด่วน

Reference

  1. “A Neural Algorithm of Artistic Style” by Leon A. Gatys, Alexander S. Ecker, and Matthias Bethge (2015): https://arxiv.org/abs/1508.06576
  2. “Neural Machine Translation by Jointly Learning to Align and Translate” by Dzmitry Bahdanau, Kyunghyun Cho, and Yoshua Bengio (2014): https://arxiv.org/abs/1409.0473
  3. “DeepFace: Closing the Gap to Human-Level Performance in Face Verification” by Yaniv Taigman, Ming Yang, Marc’Aurelio Ranzato, and Lior Wolf (2014): https://www.cs.toronto.edu/~ranzato/publications/taigman_cvpr14.pdf
  4. “ResNet: Deep Residual Learning for Image Recognition” by Kaiming He, Xiangyu Zhang, Shaoqing Ren, and Jian Sun (2016): https://arxiv.org/abs/1512.03385
  5. “Attention Is All You Need” by Ashish Vaswani, Noam Shazeer, Niki Parmar, Jakob Uszkoreit, Llion Jones, Aidan N. Gomez, Łukasz Kaiser, and Illia Polosukhin (2017): https://arxiv.org/abs/1706.03762