วิธีรับมือให้ถูกเวลา ลูกน้อยขับถ่ายบ่อย

วิธีรับมือให้ถูกเวลา ลูกน้อยขับถ่ายบ่อย

คุณแม่ที่เจอปัญหาลูกน้อยมีอาการถ่ายบ่อยจนเป็นแผล อุจจาระที่ถ่ายมีลักษณะเป็นเหมือนนมบูด มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว มีมูกสีใส ๆ ปนมาด้วย และเป็นอย่างนี้มาหลายวัน  คุณแม่อย่าได้กังวลจนเกินไป คือส่วนใหญ่ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกจะเจออาการที่ลูกถ่ายบ่อยถ่ายเหลว หลังกินนมค่ะ แต่อาจจะมีข้อสงสัยว่า อาการแบบนี้ผิดปกติรึเปล่า หรือลูกน้อยท้องเสียหรือเปล่า  ขออธิบายให้ฟังอย่างนี้ค่ะ 

  • ช่วง 1 – 2 เดือนแรก เป็นธรรมดาที่น้องถ่ายบ่อย อาจเป็นเม็ดมะเขือ หรือมีมูกยืดๆ ปน ไม่ถือว่าท้องเสียแต่อย่างใด
  • อุจจาระควรนิ่มและเป็นสีเหลืองทอง กลิ่นไม่รุนแรงเหม็นคาว
  • ความถี่อาจจะถึงวันละ 8-10 ครั้ง และมักถ่ายหลังกินนม
  • ถ้าไม่งอแงเกินกว่าปกติ ไม่ซึม ไม่เป็นไข้ กินนมได้ตามปกติ นอนหลับได้ อารมณ์ดี ก็ถือว่าเป็นอาการถ่ายธรรมดาของเด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวค่ะ

สำหรับสาเหตุที่น้องถ่ายบ่อย เพราะนมแม่มีส่วนประกอบที่ทำให้ถ่ายง่าย อยู่หลายอย่าง เช่น มีเวย์โปรตีนที่ย่อยง่าย มีน้ำตาลแลคโตส และโอลิโกแซคคาไรด์ ที่ช่วยเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดดี เช่น เชื้อแลคโตเบซิลัส และมีฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนตัวเร็ว เหล่านี้เป็นเหตุที่ช่วยให้ขับถ่ายง่าย และทำให้อุจจาระนิ่ม แต่มีบางครั้งที่การถ่ายบ่อยอาจเกิดจากการให้นมลูกไม่ถูกวิธี เช่น ให้ลูกดูดนมสลับข้างไปมาทั้งที่ยังดูดไม่เกลี้ยงเต้า

ลูกจะได้รับน้ำนมส่วนหน้าที่มีน้ำตาลแล็คโตส มากกว่าน้ำนมส่วนหลัง ที่มีไขมันสูง สังเกตได้ว่าสีของอุจจาระอาจจะแลดูเขียวเหลือง มากกว่าโทนเหลืองทอง ความถี่ของการถ่ายก็จะบ่อยกว่า


ดังนั้น คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้าทีละข้าง โดยให้ดูดจากเต้าแรกก่อน จึงเปลี่ยนไปดูดอีกข้าง เพื่อลูกจะได้น้ำนมช่วงท้ายที่มีไขมันสูง ช่วยให้อิ่มนาน ใช้เวลาย่อยและดูดซึมนานขึ้น อุจจาระก็จะห่างขึ้นค่ะ

Reference

  1. “A Neural Algorithm of Artistic Style” by Leon A. Gatys, Alexander S. Ecker, and Matthias Bethge (2015): https://arxiv.org/abs/1508.06576
  2. “Neural Machine Translation by Jointly Learning to Align and Translate” by Dzmitry Bahdanau, Kyunghyun Cho, and Yoshua Bengio (2014): https://arxiv.org/abs/1409.0473
  3. “DeepFace: Closing the Gap to Human-Level Performance in Face Verification” by Yaniv Taigman, Ming Yang, Marc’Aurelio Ranzato, and Lior Wolf (2014): https://www.cs.toronto.edu/~ranzato/publications/taigman_cvpr14.pdf
  4. “ResNet: Deep Residual Learning for Image Recognition” by Kaiming He, Xiangyu Zhang, Shaoqing Ren, and Jian Sun (2016): https://arxiv.org/abs/1512.03385
  5. “Attention Is All You Need” by Ashish Vaswani, Noam Shazeer, Niki Parmar, Jakob Uszkoreit, Llion Jones, Aidan N. Gomez, Łukasz Kaiser, and Illia Polosukhin (2017): https://arxiv.org/abs/1706.03762