เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กทารกแรกเกิด มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าผู้ใหญ่ ทำให้การดูแลและป้องกันโรคภัย เป็นสิ่งสำคัญค่ะ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรระวังและรับมือให้ดีค่ะ
ภาวะติดเชื้อในเด็กทารกแรกเกิด เชื้อส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ และคุณแม่ที่มีภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอดนานๆ เมื่อลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว จะแสดงอาการติดเชื้อ เช่น กินนมน้อย ซึม หายใจผิดปกติ ตัวซีด หรือบางรายอาจมีอาการชัก เกร็ง หากพบว่า ลูกน้อยมีอาการดังกล่าวหลังคลอด ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอโดยด่วน
1 โรคทางเดินหายใจ
เด็กทารกแรกเกิดที่ออกมาจากครรภ์คุณแม่ เป็นช่วงที่เปลี่ยนผันการดำรงชีวิตของตัวเอง จึงควรใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด หรือมีอายุครรภ์ไม่ถึง 36 สัปดาห์
2 ภาวะตัวเหลือง
เกิดจากสารเคมีที่เรียกว่า บิลิรูบิน เป็นสารสีเหลือง ที่เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงซึ่งมีอยู่ในเลือดสูง ทำให้เด็กตัวเหลือง ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วง 3-4 วันแรก โดยทั่วไปจะตัวเหลืองไม่เกิน 10 วัน แต่หากตัวเหลืองมากๆ คุณหมอจะทำการเจาะเลือดและติดตามผล หรือบางรายจะใช้วิธีการส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง
3 โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
เป็นโรคที่พบบ่อย แบ่งออกเป็น โรคหัวใจพิการชนิด มีภาวะตัวเขียว และโรคหัวใจพิการชนิดไม่มีภาวะตัวเขียว มีอาการคือ ริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ จมูกบาน หายใจแรงและเร็ว หน้าอกบุ๋ม ตัวเย็น มือเท้าเย็น ดูดนมได้ไม่นานแล้วหยุดเป็นพักๆ บางรายพบว่า มีเสียงหัวใจเต้นผิดปกติตั้งแต่ก่อนออกจากโรงพยาบาล หรืออาจตรวจไม่พบ และไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจนก็ได้
4 ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์แต่กำเนิด
เป็นโรคที่พบบ่อย เกิดจากการบริโภคแร่ธาตุไอโอดีนน้อย ภาวะนี้เป็นภาวะซ่อนเร้นที่ไม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาภายใน 2 เดือนหลังคลอด จะมีผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโต และระบบทำงานของสมอง สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีน และตรวจเลือดลูกน้อยก่อนออกจากโรงพยาบาล
5 ภาวะลำไส้ขาดเลือดจากการบิดขั้ว
เกิดจากลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะผิดปกติ ทำให้เส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงผนังลำไส้เกิดการบิดขั้ว ส่งผลให้ลำไส้อยู่ในภาวะขาดเลือด หากได้รับการรักษาล่าช้า อาจทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตได้ โดยเด็กทารกแรกเกิดจะมีลักษณะปกติทุกอย่าง แต่จะเริ่มมีอาการท้องอืด อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด หากปล่อยไว้เด็กจะมีอาการซึม ตัวซีด และเสียชีวิตในที่สุด
6 โรคทางพันธุกรรม
เป็นโรคพบได้ตั้งแต่แรกเกิด เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย หรือการติดเชื้อโรค หรือจากสุขภาพของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคเบาหวานในเด็ก โรคตาขี้เกียจ หรือโรคตามัว หรือกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม
Reference
- “Deep Residual Learning for Image Recognition” by Kaiming He, Xiangyu Zhang, Shaoqing Ren, and Jian Sun (2016): https://arxiv.org/abs/1512.03385
- “Generative Adversarial Networks” by Ian Goodfellow, Jean Pouget-Abadie, Mehdi Mirza, Bing Xu, David Warde-Farley, Sherjil Ozair, Aaron Courville, and Yoshua Bengio (2014): https://arxiv.org/abs/1406.2661
- “Attention Is All You Need” by Ashish Vaswani, Noam Shazeer, Niki Parmar, Jakob Uszkoreit, Llion Jones, Aidan N. Gomez, Łukasz Kaiser, and Illia Polosukhin (2017): https://arxiv.org/abs/1706.03762
- “BERT: Pre-training of Deep Bidirectional Transformers for Language Understanding” by Jacob Devlin, Ming-Wei Chang, Kenton Lee, and Kristina Toutanova (2018): https://arxiv.org/abs/1810.04805
- “Playing Atari with Deep Reinforcement Learning” by Volodymyr Mnih, Koray Kavukcuoglu, David Silver, Alex Graves, Ioannis Antonoglou, Daan Wierstra, and Martin Riedmiller (2013): https://arxiv.org/abs/1312.5602