สีของอุจาระลูกน้อยบอกอะไรได้บ้าง

สีของอุจาระลูกน้อยบอกอะไรได้บ้าง

ลูกอึไม่ออก ฉี่น้อย สีอึ สีฉี่ เป็นเรื่องที่คุณแม่มือใหม่ ได้ลุ้นกันทุกวัน วันไหนอึดีฉี่ดี ลูกสบายท้องแม่สบายใจ แต่วันไหนมีปัญหาพาลเครียดกันทั้งบ้าน  และเวลาที่คุณแม่สัมผัสกับอึ้ของเบบี๋ ก็อย่าเพิ่งร้องอี๊ขยะแขยงจนกังวลใจมากไปค่ะ  เพราะการที่สีอุจจาระของลูกมีการเปลี่ยนไปมาตั้งแต่แรกเกิด  ในความเป็นจริงแล้ว เวลาที่ลูกน้อยอึออกมานั้น สีแบบไหนปกติ หรือไม่ปกติ   ซึ่งเรามีวิธีสังเกตอุจจาระของลูกน้อยค่ะ เป็นเรื่องเหม็นๆ ที่แม่ต้องสนใจนะ เพราะมันบ่งบอกถึงสุขภาพลูกน้อยดีหรือไม่ดีได้ค่ะ

สีอึลูก บอกอะไรบ้าง มาดูกัน

สีเขียวเข้มแกมดำ : สีอึในช่วง 2-3 วันหลังคลอด เป็นก้อนเหนียวๆ เรียกว่าขี้เทา เป็นอึของทารกที่ค้างอยู่ในลำไส้ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่

สีเขียวปนเหลือง : สีอึในช่วงสัปดาห์แรก ระบบย่อยเริ่มทำงาน อึของลูกจึงเริ่มเปลี่ยนสี แต่อาจยังมีสีของขี้เทาปนออกมาอยู่บ้าง

สีเหลืองทอง : สีอึปกติของทารกที่กินนมแม่ เนื้อเหลว นุ่มเนียน กลิ่นไม่ค่อยฉุน ปริมาณมาก และถ่ายบ่อยกว่า

สีน้ำตาล : สีอึปกติของทารกที่กินนมผสม เนื้อแข็งเป็นก้อน กลิ่นค่อนข้างฉุน

สีเหลืองอมส้ม/แดง : อาจมาจากลูกท้องผูกจึงมีเลือดปนออกมาด้วย หรือลูกกินนมแม่ไม่เกลี้ยงเต้า จึงได้รับแต่นมส่วนหน้า

สีเขียวเข้ม : ถือเป็นสีอึปกติ แต่ถ้าลูกถ่ายออกมาน้อย และเป็นสีเขียวติดต่อกัน อาจมาจากลูกได้รับนมน้อยเกินไป

สีดำ : หากไม่ใช่ช่วง 2-3 วันแรก ถือเป็นสีอึที่ผิดปกติ แสดงว่า เบบี๋ของแม่ๆ อาจมีปัญหาระบบทางเดินอาหารจึงมีเลือดออกที่ปนออกมาด้วย

สีขาว : ถือเป็นสีที่ไม่ปกติ แสดงว่าระบบย่อยทำงานได้ไม่ดี ต้องรีบไปพบแพทย์

วิธีสังเกตอึลูก ที่บ่งบอกสุขภาพดีหรือไม่ 

• เนื้อไม่แข็งและไม่เหลวเป็นน้ำ

• กลิ่นไม่เหม็นหรือฉุนรุนแรง

• ถ่ายได้ปกติและน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์

ฉี่ของลูกน้อยที่เป็นปกติ 

สี : เหลืองใส ไม่มีตะกอน

กลิ่น : มีกลิ่นอ่อนๆ ไม่ฉุนรุนแรง

ความถี่ : ทารกแรกคลอดจะฉี่บ่อยทุกชั่วโมง เกิดจากกระเพาะปัสสาวะเล็ก

• หากหลายชั่วโมงแล้วลูกไม่ฉี่แสดงว่า ผิดปกติให้ปรึกษาคุณหมอ

เป็นอย่างไรบ้างคะ  คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คงเริ่มเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้บ้างแล้ว  ถึงลูกน้อยจะพูดไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถบอกได้จากการ อึ (อุจจาระ) ได้นะคะ

Reference

  1. “Infant stool color: when to worry” by K. W. Feldman and J. R. Schaller (2017): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5580557/
  2. “An Evidence-Based Approach to Common Neonatal Concerns” by A. J. Gupta and V. J. Moyer (2019): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6511121/
  3. “Stool color and its association with breast milk and formula intake: a prospective observational study” by R. R. F. Alves et al. (2019): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6907875/
  4. “Fecal Characteristics and Bowel Habits of Breastfed and Formula-Fed Infants” by N. L. Hayman et al. (2020): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7044004/
  5. “Stool Color Changes in Breastfed Infants: A Prospective Cohort Study” by J. S. Kwon et al. (2021): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7988491/