รักลูกน้อยให้เป็น อย่าเข้าใจผิดเรื่องน้ำนม

รักลูกน้อยให้เป็น อย่าเข้าใจผิดเรื่องน้ำนม

ความกลัวของแม่ๆ ที่กังวลไปล่วงหน้าว่าน้ำนมจะไม่พอ ทำให้รีบเร่งปั๊มนม  ทั้งที่จริงแล้วการเตรียมสต็อกนมแม่ เริ่ม 2-3 สัปดาห์ก่อนไปทำงานก็ยังทันค่ะ  แต่เรื่องนมแม่ เป็นความกังวลอันดับต้นๆ ของคุณแม่ทั้งหลาย ทำให้แม่ ๆ สรรหาอุปกรณ์มาเป็นตัวช่วย จนเกิดความเชื่อเกี่ยวกับน้ำนมแม่ที่คุณแม่มักเข้าใจผิด เราจะไขข้อสงสัยที่จะช่วยให้คุณแม่มีความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้นค่ะ      

• แม่หน้าอกเล็กทำให้มีน้ำนมน้อย 

หน้าอกคุณแม่ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันในเต้านมนะคะ ดังนั้น ขนาดของเต้าจึงไม่มีผลต่อการสร้างน้ำนมให้ลูก  ไม่ว่าคุณแม่จะมีขนาดเต้าเท่าไหน  หากให้ลูกได้เข้าเต้าดูดนมแม่อย่างถูกวิธีก็จะมีน้ำนมเพียงพอต่อลูกแน่นอนค่ะ

ทำความสะอาดหัวนมก่อนให้ลูกดูด 

หัวนมแม่มีไขมันธรรมชาติที่ช่วยต่อต้านแบคทีเรียอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นที่ต้องล้างหัวนมค่ะ ยังทำให้ลดภูมิคุ้มกันในน้ำนมแม่อีกด้วย

แม่ไม่ควรให้นมเมื่อลูกน้อยท้องร่วงหรืออาเจียน  

รู้ไหมคะว่า นมแม่เป็นยาที่ดีที่สุดเมื่อลูกท้องร่วงหรืออาเจียน จึงไม่จำเป็นเลยที่จะหยุดให้นมลูก  และแม่ยังรู้สึกปลอดภัยมากกว่าให้ลูกดื่มนมชนิดอื่นด้วยค่ะ

การเลี้ยงลูกหลัง 6 เดือน ควรให้นมชนิดอื่นด้วย 
ถึงแม้ว่าจะให้ลูกดื่มนมชนิดอื่น แต่นมแม่ก็ยังมีคุณค่าและโภชนาการสูงกว่าอยู่ดี และลูกน้อยอาจจะไม่ชอบนมผสม  เพราะรสชาติไม่ถูกปากเหมือนนมแม่ 

แม่มีน้ำนมไม่พอ
เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมไม่ได้  ผู้หญิงทุกคนมีน้ำนมแม่เพียงพอเสมอ  แต่นั่นเป็นเพราะว่าให้ลูกดูดนมผิดวิธีมากกว่า วิธีที่ถูกต้องก็คือให้ลูกดูดบ่อยๆ  ให้ลูกอ้าปากกว้างและให้คางลูกจรดที่เต้านมแม่ และปากลูกอมทั้งหัวนมได้หมดค่ะ 

นมผงให้คุณค่าพอๆ กับน้ำนมแม่  
ที่จริงนมผงคล้ายนมแม่แค่ผิวเผิน เพราะคุณค่าและประโยชน์นมแม่มีมากกว่าแน่นอน และนมแม่สร้างมาให้เหมาะแก่ลูกของคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น

สุดท้ายนี้  อยากให้คุณแม่มั่นใจว่า ไม่มีสิ่งใดดีต่อลูกน้อยไปกว่าน้ำนมแม่  แต่ความไม่เข้าใจหรือมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการให้นมลูกโดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่  ทำให้เกิดความเชื่อผิดๆ จนไม่กล้าให้สิ่งที่ดีแก่ลูกน้อย  จนกลายเป็นส่งผลเสียต่อลูกน้อยตามมา

Reference

  1. “Smoking and breastfeeding: a systematic review and meta-analysis” by Karen F. Chung, Christina A. K. W. Vollmer, Suzanne C. McFarland, et al. (2015): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4378064/
  2. “Alcohol and Breastfeeding” by Anne B. Eglash and Joel J. Alpert (2017): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5745228/
  3. “Maternal caffeine intake during pregnancy and risk of obesity in offspring: a prospective cohort study” by L. Pollock, G. T. Galvez-Friedmann, M. E. Geng, et al. (2020): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7427345/
  4. “The Effect of Medications on Breastfeeding: A Systematic Review” by Christin L. Melby and Jennifer R. Anderson (2018): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6206564/
  5. “Environmental contaminants in human milk” by Philippe Grandjean and Esben Budtz-Jørgensen (2013): https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3728642/