4 ท่าพิชิตให้นมลูก แบบเกลี้ยงเต้า

4 ท่าพิชิตให้นมลูก แบบเกลี้ยงเต้า

รู้หรือไม่ ถ้านมไม่เกลี้ยงเต้า จะทำให้ลูกได้รับน้ำนมส่วนหน้าที่มีไขมันน้อยและมีน้ำตาลมาก นั่นจะทำให้ลูกท้องอืดบ่อยๆ ยังทำให้เต้านมคัด และมีก้อนแข็งๆอยู่ในเต้านม ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานก็จะเกิดการอักเสบได้ในที่สุด

ดังนั้น ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง จะทำให้ลูกน้อยได้รับนมอย่างเต็มที่ ยังช่วยให้ลูกเข้าเต้านมแม่ และดูดน้ำนมได้ดี เดี๋ยวมาดูกันว่า ท่าที่ทำให้คุณแม่ไม่เกร็ง ไม่เมื่อย และเป็นท่าที่เหมาะสมกับคุณแม่มีท่าไหนบ้าง

1. ท่าลูกนอนขวางบนตัก

ท่านี้ อาจจะเรียกว่า ท่านั่งอุ้มเห่กล่อม ทำได้โดยให้คุณแม่อุ้มลูกวางนอนขวางบนตัก โดยใช้มือและแขนโอบลูกนอนตะแคงเข้าหาแนบท้องคุณแม่ ศีรษะลูกอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ส่วนท้ายทอยลูกอยู่บริเวณแขนของคุณแม่ และใช้มืออีกข้างช่วยประคองเต้านม   ท่านี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่คลอดเองตามธรรมชาติที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด

2 ท่าลูกนอนขวางบนตักแบบประยุกต์ 

คล้ายท่าแรก เพียงแต่เปลี่ยนมือ โดยใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูดประคองเต้านม มืออีกข้างรองรับต้นคอ และท้ายทอยของลูกแทน ท่านี้จะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกได้ดี  และเมื่อลูกโตขึ้น เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อม เวลามีอะไรมาดึงความสนใจแล้วชอบหันไปดู ก็จะดึงหัวนมแม่ไปด้วย ทำให้แม่เจ็บ ท่านี้จะช่วยคุณแม่ได้มากๆ ค่ะ

3. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล 

ท่านี้ ทำได้โดยอุ้มลูกน้อยให้อยู่ในท่ากึ่งนอนตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ โดยใช้มือคุณแม่ประคองที่ต้นคอลูกไว้ แล้วกอดลูกให้กระชับทางด้านสีข้างของคุณแม่ ลูกน้อยจะดูดนมข้างเดียวกับมือที่คุณแม่จับลูกไว้  ท่านี้เหมาะสำหรับ  คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพราะตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของคุณแม่ คุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่หรือลูกตัวเล็ก ลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า และคุณแม่ที่คลอดลูกแฝดสามารถให้ลูกดูดนมจากท่านี้ได้ทั้งสองเต้าพร้อมๆ กันได้

4. ท่านอนตะแคงเข้าหากัน  

ท่านี้ให้คุณแม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อย โดยตะแคงหันหน้าเข้าหาลูกให้ศีรษะลูกอยู่ใกล้กับระดับเต้านมคุณแม่มากที่สุด ปากลูกจะอยู่ตรงกับหัวนมคุณแม่ โดยใช้มือประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวคุณแม่ ส่วนมืออีกข้างประคองเต้านมไว้   เมื่อลูกดูดได้ดีเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ค่อยขยับมือออกได้  และควรมีผ้าขนหนูที่ม้วนไว้รองด้านหลังของลูกด้วย  ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง และต้องการพักผ่อน และเหมาะสำหรับให้นมลูกเวลากลางคืน

Reference

  1. “Effect of Different Breastfeeding Positions on Infant Comfort and Maternal Milk Ejection” by Reem Abuhasheesh and Taghrid S. Suifan (2020). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7669984/
  2. “Breastfeeding Positions and Attachment” by Pamela Morrison (2017). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5648968/
  3. “Positioning and Attachment for Healthy Full-Term Infants” by the Academy of Breastfeeding Medicine (2017). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5492499/
  4. “Breastfeeding Position and Its Effect on Breast Milk Production” by Farzana Saleem, Qaiser Parveen, and Mehwish Akhtar (2018). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6277769/
  5. “Breastfeeding Positions: An Evidence-Based Review” by Heather L. Stamm, Rebecca L. Mannel, and Laurie Nommsen-Rivers (2018). URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6267446/