3 ข้อควรรู้ก่อนซื้อตู้แช่นม

3 ข้อควรรู้ก่อนซื้อตู้แช่นม

ซื้อตู้แช่นม แบบไหนดี วันนี้มาหาคำตอบกัน ?

บางทีคุณแม่ก็ปั๊มนมออกค่อนข้างเยอะ ทำสต๊อกได้มากจนไม่มีที่จะเก็บ ก็เลยจำเป็นต้องไปทิ้งนมเก่าที่หมดอายุ ทิ้งแล้วก็เสียดายมาก ก็เลยทำให้คุณแม่อยากได้ตู้แช่เพิ่มเพื่อทำสต๊อกนม แต่ก็ไม่รู้ว่า จะใช้ตู้แช่แบบไหนดี และควรมีอุณหภูมิเท่าไหร่ เก็บได้นานเท่าไหร่ โดยเรามีเทคนิคการเลือกซื้อตู้แช่นมมาฝากค่ะ

1.ตู้แช่แข็ง หรือ ตู้เย็น ต่างกันยังไง?

ตู้เย็นธรรมดา ความเย็นสูงสุดที่ทำได้ เย็นสุด -5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำแข็งมันแข็ง และ ตู้แช่แข็ง เย็นสุด -20 องศาเซสเซียส ทำให้การเก็บน้ำนมแม่ เก็บได้นานมากขึ้น  ส่วนนมแม่ที่เก็บในช่องฟรีซหรือตู้เย็นธรรมดา เก็บนมแม่ได้ประมาณ 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับที่ว่า เราเปิดปิดบ่อยแค่ไหน เพราะการเปิดปิดทุกครั้งความเย็นมันเสีย แต่ถ้าเกิดเป็น ตู้แช่แข็งเนี่ย เก็บได้สูงสุดถึง 1 ปี

2.ตู้แช่แข็ง แนวนอน หรือ แนวตั้ง

แบบที่ 1 แนวนอน 

ตู้ลักษณะนี้มักจะเก็บความเย็นได้ดีกว่า เพราะความเย็นมันไหลลงที่ต่ำเสมอ ทำให้ไม่เสียความเย็น พอเปิดฝาขึ้นมาปุ๊ป ความเย็นจะไม่ออก ความเย็นจะอยู่ในตู้แช่

แบบที่ 2 แนวตั้ง 

ตู้เย็นแช่แข็งแนวตั้ง เปิดแล้วแล้วรู้สึกเย็น เพราะไอเย็นออก พอเราเปิดปิดตู้เย็นบ่อยๆ คราวนี้ความเย็นก็จะหายหมด มันเก็บไม่ได้ เพราะเป็นแนวตั้ง ดังนั้น ถ้าจะซื้อตู้แช่เก็บนม ควรซื้อแนวนอนจะดีกว่า ส่วนแนวตั้งอาจดีตรงที่ว่า สามารถเก็บนมได้สะดวกเท่านั้น

3.ตู้แช่แข็งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่เท่าไร

พอมีเพิ่มความจุก็จะมีการบวกเพิ่มไปอีก แนะนำควรซื้อตู้แช่แข็งใหญ่ไปเลย เช่น 7.0 คิว , 9.0 คิว, 12 คิว ขึ้นไปน่าจะดีกว่า เพราะการที่คุณแม่ซื้อตู้เล็กๆ เช่น ตู้ 3.0 คิว , 5.0 คิว ราคาก็ 5-6 พันบาทแล้ว  

ซึ่งถ้าตู้นม 7.0 คิว ราคา 7 – 8 พันบาท โดยราคาไม่ได้เพิ่มถึง 2 เท่า แต่ปริมาณความจุเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เพราะถ้าเป็นคุณแม่นักปั๊มจริงๆ เผลอๆ 7Q ยังจุไม่พอ  และขนาดตู้แช่แข็ง แต่ละตู้เก็บได้โดยประมาณ  3.5 คิว / 250 ถุง , 5.0 คิว / 350 ถุง, 7.0 คิว / 450 ถุง และ  9.0 คิว / 550 ถุง

  สรุปก็คือ เราควรจะใช้ตู้แช่แข็งโดยเฉพาะจะดีกว่า โดยเฉพาะตู้แช่แข็งแนวนอน  และสุดท้ายตู้แช่แข็งตู้ใหญู่จะให้ความจุเยอะและถูกกว่าคุ้มกว่า ไม่ต้องเสียเวลาซื้อตู้เล็กๆ หลายๆ ตู้ที่หลังด้วย

  1. Academy of Breastfeeding Medicine Protocol Committee. ABM Clinical Protocol #8: Human Milk Storage Information for Home Use for Full-Term Infants, Revised 2017. Breastfeeding Medicine. 2017; 12(7): 390-395. https://www.liebertpub.com/doi/10.1089/bfm.2017.29040.aje
  2. Arslanoglu S, Zampini L, Osmlioglu E, et al. The effect of Holder pasteurization on nutrient content and microbiological quality of human milk. Breastfeeding Medicine. 2010; 5(2): 117-122. https://www.liebertpub.com/doi/10.1089/bfm.2009.0027
  3. Bonyata K. Storage and handling of breast milk. KellyMom website. https://kellymom.com/bf/pumpingmoms/milkstorage/milkstorage/. Accessed April 22, 2023.
  4. Centeno-Tablante E, Medina-Moreno S, Morales-Hernández B, et al. Optimization of breast milk storage to preserve antimicrobial components: a systematic review. Advances in Nutrition. 2020; 11(5): 1271-1286. https://academic.oup.com/advances/article/11/5/1271/5835129
  5. Ewaschuk JB, Unger S, O’Connor DL, Stone D, Harvey S, Clandinin MT. Effect of pasteurization on immune components of milk: implications for feeding preterm infants. Journal of Perinatology. 2011; 31(9): 593-598. https://www.nature.com/articles/jp201168